1. ท่านได้เตรียมการให้คำปรึกษาอย่างเป็นขั้นตอนหรือไม่(เนื่องจากการให้คำปรึกษาเป็นขบวนการ)
2. ท่านได้ต้อนรับเขาตามที่เขาเป็นอยู่หรือไม่ ถึงแม้ว่าท่านอาจจะไม่ชอบบางอย่างในตัวของเขา
3. ท่านได้หนุนใจผู้มารับคำปรึกษาให้ขจัดความตึงเครียดและความวิตกกังวลอย่างเหมาะสมหรือไม่
4. ท่านให้ความสนใจฟังปัญหาของผู้มารับคำปรึกษาด้วยความตั้งใจหรือไม่
5. ท่านให้เสรีภาพแก่ผู้มารับคำปรึกษาในการพูด และการแสดงออกมาน้อยเพียงไร
6. ท่านได้ใช้เวลารอคอยปัญหาที่แท้จริงอย่างเพียงพอหรือไม่
7. ท่านได้ใช้เวลาให้เป็นประโยชน์อย่างเต็มที่ในระหว่างการให้คำปรึกษาหรือไม่
8. ท่านได้ชี้ให้เขาเห็นและเข้าใจถึงสิ่งแวดล้อมที่เกี่ยวกับปัญหาของเขาหรือไม่
9. ท่านให้ความสำคัญต่อปัญหาของเขาในครั้งหลังเท่ากับในครั้งแรกที่ท่านพบหรือไม่
10. ท่านได้มองปัญหาของเขาจากแง่มุมต่างๆ อย่างครบถ้วนแล้วหรือไม่
11. ท่านช่วยให้เขาเห็นสาเหตุทั่วๆ ไปของปัญหาอย่างชัดเจนหรือไม่
12. ท่านได้คำนึงถึงความจริงที่ว่า ปัญหาหลายอย่างมีสาเหตุมาจากความผิดปกติทางสุขภาพหรือไม่
13. ท่านได้เปิดโอกาสให้เขาคิดโดยการหยุดพูดชั่วขณะในระหว่างการสนทนาหรือไม่
14. ท่านได้ใช้หลักที่ว่า การตัดสินใจนั้นเกี่ยวข้องกับความรู้และอารมณ์ของผู้ตัดสินใจหรือไม่
15. ท่านได้ช่วยให้เขารู้ และเห็นถึงความรับผิดชอบของเขาในการแก้ปัญหาของเขาหรือไม่
16. ท่านได้ช่วยให้เขาสามารถที่จะทำตามคำแนะนำของท่านอย่างเต็มที่หรือไม่
17. ท่านได้ “ส่งต่อ” ในกรณีที่เกินความสามารถของท่านไปให้ผู้อื่นอย่างเต็มใจหรือไม่
18. ท่านพร้อมที่จะรับการปฏิเสธคำแนะนำของท่านจากผู้มารับคำปรึกษาแล้วหรือไม่
19. ท่านได้ใช้พระวจนะของพระเจ้าอย่างถูกต้อง และเหมาะสมแล้วหรือไม่
20. ท่านได้คำนึงถึงปัญหาทางด้านจิตวิญญาณของผู้มารับคำปรึกษาบ้างหรือไม่
21. ท่านได้ช่วยวางโครงการให้ผู้มารับคำปรึกษาได้เห็นช่องทางในการพัฒนาชีวิตทางด้านร่าง กาย ด้านจิตใจ ด้านสติปัญญา และด้านจิตวิญญาณของเขาแล้วหรือไม่
22. ท่านได้เห็นขอบเขตจำกัดในตัวของท่านเองหรือไม่
23. ท่านได้ใช้เวลาในการอธิษฐานเพื่อตนเอง ในการให้คำปรึกษาในแต่ละครั้งเป็นอย่างดีหรือไม่
24. ท่านได้ใช้เวลาในการอธิษฐานเพื่อผู้มารับคำปรึกษาแต่ละคนเป็นอย่างดีแล้วหรือไม่
25. ในการให้คำปรึกษาแต่ละครั้ง ท่านได้เตรียมตัวเป็นอย่างดีหรือไม่

บทความโดย อ. ประยูร ลิมะหุตะเศรณี