ชีวิตของชาวอิสราเอลมีพระบัญญัติ 10 ประการเป็นศูนย์กลาง และบัญญัติ 10 ประการ
เรียกได้ว่าเป็น “จริยธรรม” ในการดำเนินชีวิต ก็เรียกได้เหมือนกับคำสอนบนภูเขาของพระเยซูคริสต์
พระบัญญัติ 10 ประการนั้น มีคุณมหาศาลแก่มวลมนุษย์โลก เป็นคำสอนเป็นจริยธรรมสากล ที่ทุกคนทุกชาติต้องปฏิบัติ และจะพบกับหลักจริยธรรมอันสมบูรณ์
พระบัญญัติ 10 ประการ ได้สรุปคำแนะนำให้มีท่าทีต่อ 3 ด้านด้วยกันอพย.20:1-17

ด้านที่ 1 คือ พระบัญญัติ 4 ข้อแรก แสดงหน้าที่มนุษย์ต่อพระเจ้า
ด้านที่ 2 คือ พระบัญญัติ 6 ข้อหลัง แสดงหน้าที่มนุษย์ต่อผู้อื่นและตัวเอง

หน้าที่ต่อพระเจ้า
I. อย่ามีพระเจ้าอื่นใดต่อหน้าเรา (อพย.20:1)
จริยธรรมที่คริสตชนควรมีต่อพระเจ้าในข้อนี้คือ พระเจ้าพระยะโฮวาห์เท่านั้น ทรงเป็นอธิปไตย เราจะต้องไม่มีพระเจ้าอื่น แม้แต่ใน ความคิดจิตใจ แต่ต้องจงรักภักดีต่อพระองค์ผู้เดียว

พระเจ้าอื่นหมายถึงอะไร ?
ก) วัตถุสิ่งของที่เคารพได้หรือไม่ได้ มีชีวิตหรือไม่มีชีวิต เราไม่ ควรแบ่งปันความจงรักภักดี ความหลงให้แก่สิ่งนั้น ทำให้ใจห่างไกลจากพระเจ้า ชาวอิสราเอลเคยเป็นเช่นนั้น จนลดความสำคัญของพระ เจ้ามาเป็นแค่ศาสนาหนึ่ง และเหตุนี้เองมีการประชันระหว่าง ความยิ่งใหญ่ของพระเจ้า กับศาสนาบาอัล (1พกษ.18:20-40)
ข) รักพระพรมากกว่ารักพระเจ้า เข้าหาพระเจ้าด้วยหวังพระพรจากพระองค์ จนลืมพระ องค์ เห็นคุณค่าจิตใจจดจ่อพระเจ้าน้อยกว่าพระพร บางคนรัก งาน, ครอบครัว, ชื่อเสียงมากกว่ารักพระเจ้าเสียอีก

II. อย่าทำรูปเคารพแกะสลักขึ้นเคารพสำหรับตัว อพย.20:4
ไม่ทำวัตถุสิ่งของใด ๆ เป็นตัวแทนพระเจ้า และไม่ให้ วัตถุใด ๆ มาชักจูงจิตใจให้หลงไปจากพระเจ้า กษัตริย์เฮเซคียาห์ ได้มีราชโองการทำลายรูปเคารพ งูทองเหลือง (นะฮุสทาน) เพราะชาวอิสราเอลถือว่าเป็นรูปเคารพ ซึ่งแท้จริงเป็นเพียงสัญญาลักษณ์ที่อิสราเอล ที่ครั้งหนึ่งเคยถูกงูกัดและ เมื่อใครมองดูงูนั้นแล้วก็จะไม่ตาย แต่อิสราเอลกลับเก็บไว้เป็นรูป เคารพ ปัจจุบันนี้ หลายคนได้ให้เงินทอง, ทรัพย์สมบัติเป็นรูป เคารพ
พระเจ้าทรงเป็นพระเจ้าผู้หวงแหน และสนองโทษแก่ บิดาถึงลูกหลาน 3-4 ชั่วอายุคน แต่หากรักพระเจ้าก็จะอวยพระถึงพัชั่วอายุคน ดังนั้นให้เคารพปฏิบัติต่อพระเจ้าดังที่พระองค์เป็นพระเจ้า

III. อย่าเอ่ยพระนามพระเจ้าแย่างไม่ควร อพย.20:7
คำว่า “นาม” ของพระเจ้า หมายถึง ความเป็นบุคคล การ ทรงพระชนม์อยู่ และบุคลิกลักษณะของพระองค์ ไม่ว่าด้วยการกระทำ หรือวาจาที่ทำให้พระองค์เสียเกียรติ คืออย่าให้สิ่งเหล่านี้มาใช้เรื่องของพระเจ้า เรื่อยเปื่อยผิด ๆ ไม่ว่าจะเป็นการสาบาน ปฏิญาณ สัตย์สัญญาใด ๆ (ลวต. 19:12 )
อย่าใช้นามพระเจ้าด่าว่า ดูถูกดูหมิ่นผู้อื่น ดังนี้ จะต้องมีโทษ ในแง่เดียวกัน ควรใช้พระนามของพระเจ้า ในการอธิษฐานมัสการภาวนาจะดีกว่า นี่เป็นส่วนหนึ่งของนามของพระเจ้าที่เราควรรู้

พระนามต่าง ๆ ของพระเจ้าในพระคัมภีร์เดิม
1) ยะโฮวาห์ (Jehovah) ภาษาฮีบรูว่า YAHW (ยาเวห์)
ความหมาย “เราเป็นซึ่งเราเป็น” แสดงความเสมอต้นเสมอไม่มีเปลี่ยนแปลง สัตย์ซื่อ ในพระคัมภีร์เดิมบันทึกชื่อนี้ถึง 7,000ครั้ง
อพย.3:14-ชาวยิวไม่กล้าเรียกชื่อนี้ (ลนต.24:16) ขณะที่ชาวยิวอ่านพระคัมภีร์ เมื่อพลชื่อนี้เข้าจะใช้คำว่า องค์พระผู้เป็นเจ้า(ปฐก.2:7, 12:8, อสย.40:31)
บางครั้งเราเรียกชื่อ พูดว่า “พระเจ้า ๆ”,”ฮาเลลูยา(สรรเสริญพระเจ้า), ขอบคุณพระเจ้า เหล่านี้ ควรใช้อย่างถูกต้อง มาจากความจริงใจ ไม่ใช่พูดเล่น ควรพูดด้วยท่าทียำเกรง

2) เอโลอิม (Elohim) ปฐก.1:1
ความหมาย – “พระผู้สร้าง ผู้สูงส่งยิ่งใหญ่ ครอบครองจักรวาล”
– เป็นพหูพจน์ มักใช้คำว่า “เรา” เป็นสรรพนาม แทนพระองค์ปรากฎ 2,500 ครั้งในพระคัมภีร์เดิม
– เป็นหลักความจริงในการสอนเรื่องตรีเอกานุภาพ: พระบิดา, พระบุตร, พระวิญญาณบริสุทธิ์

3). แอล (EI) กดว.24:16
ความหมาย จอมเจ้านายผู้มีอำนาจ แต่สำหรับพระเจ้า สำแดง พระลักษณะเป็นนามคู่ เช่น
– แอล-แอลยน (El-Elyon) พระเจ้าผู้สูงสุด(ปฐก.14:18,22)
– แอล-โอลัม (El-Olam) พระเจ้านิรันดร์ (ปฐก.21:33)
– แอล-ซัดดาย (El-Shaddai) พระเจ้าผู้ทรงมหิทธิฤทธิ์ (ปฐก. 17:1, 28:3)

4.) นามอื่น ๆ ที่ใช้เรียกต่อพระนามพระยะโฮวาห์
– ยะโฮวาห์-เอโลอิม (Elohim) พระเจ้าผู้ทรงสร้าง (ปฐก.2 :1, 4) “พระเจ้าสร้างชีวิตใหม่แก่เราเช่นกัน (2คร.5:17)
– ยะโฮวาห์-ยิเรห์ (Jireh) พระเจ้าผู้ทรงจัดเตรียม (ปฐก. 22:14)
– ยะโฮวาห์-นิสสี (Nissi) พระเจ้าทรงเป็นธงชัย (อพย.17: 15) “พระเจ้าเป็นชัยชนะในการดำเนินชีวิตแม้มีอุปสรรคปัญหา”
– ยะโฮวาห์-ชาโลม (ShaLom) พระเจ้าเป็นสันติสุข/สวสดภพของเรา (วนฉ.6:24) “ให้สันติสุขของพระเจ้าครอบครองจิตใจของ คริสเตียน (ฟป.4:4-7)
– ยะโฮวาห์-ชัคเคนู (Tsidkenu) พระเจ้าเป็นความชอบธรรม ของเรา (ยรม.23:6, 33:16)
“เราพ้นโทษจากการพิพากษาเพราะความผิดบาป พ้นจากพระ อาชญาของพระองค์ โดยความชอบธรรมของพระเจ้า”
– ยะโฮวาห์-รอย (Rol) พระเจ้าเป็นผู้เลี้ยงดู (สดด.23:1) “พระเจ้าทรงเลี้ยงดูนกในอากาศ และมนุษย์ทุกคน ทรงเอาใจ ใส่ผู้เชื่อ เราจึงไม่ต้องกลัวจะขัดสนสิ่งที่จำเป็น”
– ยะโฮวาห์-ซัมมา (Shammah) พระเจ้าสถิตที่นั้น(อสค.48:35)
ยะโฮวาห์-โรฟี (Rhophi) พระเจ้าเป็นแพทย์ ผู้รักษาให้หาย (อพย.15:26) “ท่านสามารถได้รับการรักษาจากพระเจ้าได้ ในยามเจ็บไข้ได้ป่วย (1ปต.2:24)
– ยะโฮวาห์-ชะบาโอธ (Sabbaoth) พระเจ้าจอมโยธา อสย37:16 พระมหากษัตริย์ผู้ทรงพระสิริ มีทูตสวรรค์ล้อมรอบ “ท่านควรยำเกรง เคารพ นมัสการ ยกย่อง จงรักภักดีต่อพระ เจ้าของเรา”
– ยะโฮวาห์-อาโดนัย (Adonai) องค์พระผู้เป็นเจ้า จอมเจ้า นาย (Lord) สดด.12:4, อสย.6:8)
“ท่านควรยำเกรง เชื่อฟังพระองค์ทางพระวจนะ คำเทศนา ยอมจำนนในการดำเนินชีวิตที่บริสุทธิ์ถูกต้อง แม้ต้องสละชีวิตให้ พระองค์เป็นเจ้านายของเรา”

5.) พระนามอื่น – พระเจ้าผู้ประกอบด้วยพระเมตต (ฉธบ.4:31)
– พระเจ้าผู้หวงแหน (อพย.20:5)
– พระเจ้าแห่งอิสราเอล (อสย.17:6)
– องค์บริสุทธิ์แห่งอิสราเอล (อสย.1:4)
– ผู้เจริญด้วยวัยวุฒิ (ดนล.7:9, 13)

IV. จงรักษาวันสะบาโต อพย.20:8
วันสะบาโต แปลมาจากภาษาฮีบรูว่า “ซับบาท” แปลว่า “พัก” พระเจ้าทรงสร้างโลก เว้นและพักวันที่ 7 เพื่อให้มนุษย์ได้ปฏิบัติเป็นแบบ อย่าง
ในฐานะของคริสเตียนวันสะบาโต เป็นวันระลึกการฟื้นคืนพระ ชนม์ของพระเยซูคริสต์ เป็นวันพักผ่อนด้านร่างกาย เพื่อมาเสริมสร้างจิตวิญ- ญาณในวันอาทิตย์

หน้าที่ต่อมนุษย์
V. จงนับถือบิดามารดาของเจ้า อพย.20:12
บิดา-มารดาย่อมได้เกียรติในครอบครัวอยู่เสมอ และครอบครัว จะแข็งแรงนำสู่สังคมเข้มแข็ง สถาบันครอบครัวพระเจ้าทรงให้บิดา-มาเป็นผู้นำ ในตำแหน่งทรัพยากรในสังคม ใครทำลายครอบครัวคนนั้นทำลาย ตนเอง

VI. อย่าฆ่าคน อพย.20:13
ความหมายในภาษาฮีบรูไม่ใช่การฆ่าด้วยอุบัติเหตุ ด้วยการพิ พากษาในศาลด้วยสงครามลงโทษ(อพย.35:23,อพย.21:12,22:2) ความหมายที่แท้จริง คือ ฆ่าคนด้วยเจตนา อย่างใดอย่างหนึ่ง เพราะการฆ่าคนก็เท่ากับ การทำลายพระฉายาของพระเจ้าในมนุษย์ — (ปฐก.9:6)

VII. อย่าล่วงประเวณี อพย.20:14
ไม่มีแบบไหนหนักเท่ากับการล่วงประเวณี ชายใด ๆ เขาเป็น เจ้าของทรัพยคือ ภรรยาของเขาคำสอนของพระคริสต์กล่าวถึง การมีมลทินใด ๆ ของใจ เท่า กับมีมลทินด้านปฏิบัติ ดังนั้น การคิดด้วยใจกำหนัดก็เท่ากับการล่วงประเวณีด้วย (มธ.5:28)

VIII. อย่าลักทรัพย์ อพย.20:15
บัญญัติคุ้มครองทรัพย์สินส่วนบุคคล บางครั้งเราไม่ได้ลักทรัพย์ แต่การลืมคืน หรือคิดเกินจากที่เราควรจะได้ก็เท่ากับการลักทรัพย์ เช่น ธุรกิจที่เอาเปรียบ ใช้ตำแหน่งที่ทำรายได้ เอาความอ่อนแอหรือความ เขลาของผู้อื่นมาเป็นประโยชน์ส่วนตน ฯลฯ
ในพันธสัญญาเดิม ได้ให้เห็นภาพความยุติธรม ต้องประกอบกับ ความรอบคอบ เช่น
ก. ต้องจ่ายค่าจ้างเมื่อถึงเวลา (ลวต.19:13, ฉธบ.25:14)
ข. เครื่องตวงต้องเที่ยงตรง (ฉธบ.25:13)
ค. ช่วยคนจนเป็นความรับผิดชอบของทุกคน (ฉธบ.15:7-11)
ด้วยเหตุนี้การนัดตรงเวลา, รักษาเวลา, ทรัพย์สิน สิ่งใดที่ถือว่าเป็นทรัพย์สินควรจะรักษา และอย่าเอาเปรียบทางใดทางหนึ่งเลย

IX. อย่าเป็นพยานเท็จ อพย.20:16
คริสเตียนต้องเป็นพยานในศาล การสอบสวนตรงไปตรงมา ไม่ติดสินบน ความหมายตอนนี้ยังรวมไปถึงการพูดนินทา พูดเล่นไม่เป็นจริง, ซุบซิบ ส่อเสียด ยกยอ เหล่านี้เรียกว่าการ “ประหารอารมณ์”

หน้าที่ต่อสังคม
X. อย่าโลภ อพย.20:17
ไม่ว่าเป็นทรัพย์, สมบัติ, เวลาของผู้อื่น ฯลฯ ความหมาย ของโลภคือ เอาจิตใจไปจดจ่อ คร่ำครวญหา หรืออยากได้มาเป็นของตัว เองด้วยใจรุ่มร้อน เริ่มจากทางใจ เพราะความโลภส่งผลทางการประพฤติ คือ เริ่มที่จะโกหก, ขโมย, เอาเปรียบ

สรุป ดังนี้ บัญญัติ 10 ประการ พระคริสต์ได้สรุปเหลือไว้เพียง 2 ข้อคือ รักเพื่อนบ้านเหมือนรักตนเอง เพราะเรารักเพื่อนบ้าน เราไม่ปฏิบัติตนผิด เอาเปรียบ ผิดจริยธรรมต่อพี่น้อง

บทความจากฝ่าย คณะศิษยาภิบาล