เพราะเหตุใดพระเจ้าทรงเรียกประชากรของพระองค์ออกมาเป็นผู้นำ และก็มีเพียงไม่กี่คนเท่านั้นที่พระองค์ทรงเลือก

คุณล่ะ มีความปรารถนาจะเป็นผู้นำ แต่คุณกลัวความล้มเหลว?
คุณกลัวว่าตนเองอ่อนแอเกินไปในการเป็นผู้นำที่เข้มแข็ง? บางทีคุณอาจจะได้รับความไว้วางใจให้อยู่ในตำแหน่งผู้นำ และกำลังเผชิญหน้ากับความล้มเหลวหรือหมดหวัง อย่างไรก็ตาม ถ้าคุณกำลังมีความรู้สึกเช่นนี้ ก็ขอให้คุณสบายใจได้ เพราะว่าพระเจ้าทรงนำ และมีข่าวดีสำหรับคุณ

หลักสำคัญประการที่ 1

พระเจ้าทรงใช้คนที่อ่อนแอ

อิสยาห์ 40:29 “ พระองค์ประทานกำลังแก่คนที่อ่อนเปลี้ย และแก่ผู้ที่ไม่มีกำลัง พระองค์ทรงเพิ่มแรง ” เมื่อพระเจ้าจะเลือกผู้ใดมาเป็นผู้นำ พระองค์ไม่ได้เลือกเพราะว่าคนนั้นฉลาด มีความสามารถ หรือมีการศึกษาดี แต่ตรงข้าม พระเจ้าทรงทำลายสิ่งเหล่านั้นเสีย พระธรรม 1 โครินธ์1:19กล่าวว่า “…เราจะทำลายสติปัญญาของคนมีปัญญา “และจะทำให้ความฉลาดของคนฉลาดสูญสิ้นไป”

อาจารย์เปาโลพูดไว้เช่นกันว่า “เพราะความเขลาของพระเจ้ายังมีปัญญายิ่งกว่าปัญญาของมนุษย์ ดูก่อนพี่น้องทั้งหลาย จงพิจารณาดูว่า พวกท่านที่พระเจ้าได้ทรงเรียกมานั้นเป็นคนพวกไหน มีน้อยคนที่โลกนิยมว่ามีปัญญา มีน้อยคนที่มีอำนาจ มีน้อยคนที่มีตระกูลสูง แต่พระเจ้าได้ทรงเลือกคนที่โลกถือว่าโง่เขลา เพื่อทำให้คนมีปัญญาอับอาย…พระเจ้าได้ทรงเลือกสิ่งที่ทุกคนถือว่าต้อยต่ำ และดูหมิ่นและเห็ว่าไร้สาระ…เพื่อมิให้มนุษย์สักคนอวดได้” 1คร.1:25-29

ในที่นี้มีบทเรียนอันยิ่งใหญ่ เนื่องด้วยความอ่อนแอของเรา การเพลี่ยงพล้ำและความล้มเหลวในชีวิตของเรา แต่พระเจ้าก็ยังสามารถให้ทุกอย่างดำเนินต่อไปได้โดยพระปัญญาของพระองค์ แม้ว่าเราขาดความสามารถ พระเจ้าก็ยังสามารถทำงานของพระองค์ได้ พระกำลังของพระองค์ทำทุกสิ่งให้ครบบริบูรณ์ในความอ่อนแอนั้น
ผมมีความรู้สึกแปลกใจกับคนที่พระเจ้าทรงเรียกให้ออกมารับใช้ อย่างที่พระองค์ตรัสให้อาจารย์เปาโลเดินทางไปหาคนต่างชาติ และอาจารย์เปาโลเองก็ได้รับการศึกษาจากนอกกลุ่มของกามิเอล (Gamaliel)ซึ่งทำให้อาจารย์เปาโลสามารถจดจำพระธรรมชุดเบญจบรรณได้ทุกถ้อยคำ ท่านเป็นฟาริสีที่ได้รับการฝึกฝนตามแบบฉบับของพวกยิวในระยะสั้น นอกจากท่านแล้วไม่มีผู้ใดที่เหมาะสมกับตำแหน่งผู้ประกาศพระกิตติคุณกับคนต่างชาติ ซึ่งไม่ใช่คนยิว
ด้วยพละกำลังทั้งหมดในตัวท่านก็ดี แม้แต่ความเฉลียวฉลาดกับความสามารถล้วนแต่ต้องถูกตัดออกไป ท่านจึงหันมาศึกษาการประกาศ พระกิตติคุณ “ ไม่ใช่คำพูดที่ชาญฉลาด ชวนฟัง แต่เป็นคำพูดที่สำแดงให้เห็นถึงฤทธิ์อำนาจและพระวิญญาณบริสุทธิ์ ” พวกต่างชาติมีความชื่นชมในความรู้อันปราชญ์เปรื่องของอาจารย์เปาโลอยู่บ้าง ส่วนอัครสาวกเปโตร แม้ว่าท่านเป็นผู้บุกเบิกงานรับใช้ในหมู่คนต่างชาติก็จริง แต่พระเจ้าทรงเรียกให้ท่านตั้งมั่นอยู่ในกรุงเยรูซาเล็มร่วมงานกับบางคนที่ได้รับเลือกจากทั่วราชอาณาจักรวรรดิโรมัน คุณสมบัติประการใดบ้างที่อัครสาวกเปโตรสมควรจะรับผิดชอบต่อพันธกิจอันนี้ แน่นอนว่า ไม่ใช่เพราะความเก่งกาจหรือมีความรู้ ซึ่งที่จริงแล้วท่านเป็นเพียงชาวประมงที่ไม่ได้รับการศึกษามาก่อน ทั้งยังขาดความรู้ด้วยซ้ำ แต่พระเจ้าองค์เดียวเท่านั้นทรงเรียกท่านและเห็นท่านมีคุณสมบัติต่องานของพระองค์

พระเจ้าทรงใช้เราในความอ่อนแอของเราได้อย่างไร
กฏบัญญัติในพระคัภมีร์เดิมชี้ให้เราเห็นถึงมาตรฐานความชอบธรรมของพระเจ้า เมื่อใดที่เราเปรียบตัวเองกับมาตรฐานนั้น เราจะรู้ว่าเราเป็นผู้ไม่บริสุทธิ์เอาเสียเลย อีกทั้งยังมีบาปหนา เราจะรู้สึกว่าเราขาดความบริสุทธิ์และเต็มไปด้วยความผิดบาป ซึ่งเราต้องพึ่งพระเจ้า ผู้ซึ่งจะนำเราเข้าถึงพระคุณและเข้าใกล้ด้วยความชอบธรรมของพระองค์ อย่างที่อาจารย์เปาโลได้กล่าวไว้ในกาลาเทีย “…เหตุฉะนั้นธรรมบัญญัติจึงเป็นครู ซึ่งนำเราให้มาถึงพระคริสต์” (กท.3:24) “เพราะฉะนั้นธรรมบัญญัติจึงควบคุมเราไว้จนพระคริสต์เสด็จมา เพื่อเราจะได้เป็นคนชอบธรรมทางความเชื่อ
ไม่ว่าจะเป็นอะไรก็ตามที่ทำให้เราต้องเผชิญหน้ากับสิ่งนั้น และเรายังขาดความสามารถ สิ่งนั้นจะบีบและผลักดันเราให้เป็นอิสระไปสู่ฤทธิ์อำนาจของพระเจ้า “พระองค์ทรงประทานกำลังแก่ผู้เหนื่อยอ่อน และผู้ที่ขาดกำลัง ะพระองค์จะเพิ่มให้แก่เขา”

จัดการกับปมด้อยอย่างไร
ความสามารถที่ไม่เพียงพอของเรา จะเป็นตัวผลักดันเราเข้าหาพระคริสต์ มันจะไม่เป็นเหตุที่ทำให้เรารู้สึกเกลียดตัวเอง สงสารตัวเองหรือหวนคิดถึงเรื่องเก่าๆ พระเจ้าทรงมีพระประสงค์ให้เรามีประสบการณ์อย่างเพียงพอ ซึ่งมาจากพระองค์ทรงเพิ่มเติมเรี่ยวแรง พระกรุณาคุณของพระองค์ก็เพียงพอสำหรับเรา ทรงเป็นกำลัง ดังนั้น เราจำเป็นต้องหลีกเลี่ยงต่อความวิตกกังวลถึงเนื้อหนังของเรา ที่มักจะออกมาในรูปของคำพูดต่างๆ เช่น “ไม่มีทางที่พระเจ้าจะใช้คนอย่างฉัน” “ฉันไม่มีอะไรดี…” “ฉันมันใช้ไม่ได้”” และอะไรทำนองนี้ ความรู้สึกดังกล่าวจะเป็นตัวก่อปัญหายุ่งยากและน่ากลัว ก็ต่อเมื่อมันลุกลามจนเข้ามาควบคุมชีวิตของเรา ยิ่งไปกว่านั้นมันยังเป็นตัวขวางกั้นฤทธิ์อำนาจของพระเจ้าที่จะไหลผ่านสู่ตัวเราอีกด้วย

หลักสำคัญประการที่ 2

พระเจ้าทรงใช้คนที่หันมาพึ่งในพละกำลังของพระองค์

อิสยาห์40:30-31 แม้คนหนุ่มๆจะอ่อนเปลี้ยและเหน็ดเหนื่อยและชายฉกรรจ์จะล้มลงทีเดียว แต่เขาทั้งหลายผู้รอคอยพระเจ้าจะเสริมกำลังเรี่วแรงใหม่…” คำที่เป็นกุญแจคือ “ใหม่” นี่หมายความว่า “เปลี่ยน” ผู้พยากรณ์พูดว่า “แต่เขาผู้รอคอยพระเจ้าจะเสริมเรี่ยวแรงใหม่” เมื่อเรารอคอยพระเจ้า เรี่ยวแรงที่มีอยู่เดิมในตัวเรารวมเข้ากับของพระองค์ แต่เป็นการเปลี่ยนจากเดิมเป็นของใหม่ทั้งหมด พระเจ้าตรัสว่า “ถ้าเจ้าแข็งแรง เราจะไม่ใช้เจ้าและถ้าเจ้าทำสิ่งใดๆได้ด้วยตัวของเจ้าแล้ว เจ้าก็ไม่ต้องการเรา”
สำหรับคนยากจนและผู้มีความต้องการ พระเจ้าทรงตรัสว่า “…เราจะเงี่ยหูฟังคำร้องทูลของเจ้า ถ้าเจ้ายอมที่จะเรียนรู้จักการรอคอยและพึ่งในเรา กำลังของเราเข้าไปแทนที่กำลังของเจ้า และด้วยกำลังของเรา เจ้าจะกระทำให้สำเร็จ” ใน 2 โครินธ์12:7-8 “…เพื่อมิให้ข้าพเจ้ายกตัวจนเกินไป เนื่องจากที่ได้เห็นการสำแดงมากมายนั้น ก็ทรงให้มีหนามใหญ่ในเนื้อของข้าพเจ้า หนามนั้นเป็นทูตของซาตานคอยทุบตีข้าพเจ้า เพื่อมิให้ข้าพเจ้ายกตัวจนเกินไป…ข้าพเจ้าวิงวอนองค์พระผู้เป็นเจ้าถึงสามครั้งเพื่อขอให้มันหลุดไปจากข้าพเจ้า” และพระเจ้าทรงตรัสแก่อาจารย์เปาโลด้วยพระทัยเมตตาว่า “การที่มีคุณของเราก็พอแก่เจ้าแล้ว เพราะความอ่อนแอ(ของท่าน)มีที่ไหน ฤทธิ์เดชของเราก็มีฤทธิ์ขึ้นเต็ม(บริบูรณ์) ขนาดที่นั่น” 2คร.12:9)
มาถึงตรงนี้ เราคงจะเข้าใจได้แล้วว่า ทำไมอาจารย์เปาโลจึงพูดว่า “เหตุฉะนั้นข้าพเจ้าจึงภูมิใจในบรรดาความอ่อนแอของข้าพเจ้า เพื่อฤทธิ์เดชของพระคริสต์จะได้อยู่ในข้าพเจ้า…เพราะเห็นแก่พระคริสต์ ข้าพเจ้าจึงชื่นใจในความอ่อนแอของข้าพเจ้า ในการประทุษร้ายต่างๆ ในความยากลำบาก ในการถูกข่มเหง ในความอับจนเพราะว่าข้าพเจ้าอ่อนแอเมื่อใด ข้าพเจ้าก็จะแข็งแรงขึ้นเมื่อนั้น” สิ่งเหล่านี้ถือว่าเป็นหลักที่สำคัญ โดยฤทธิ์เดชที่จะทำให้พระกิตติคุณดำเนินต่อไป ในยามที่เราอ่อนแอและเรามอบทุกอย่างไว้กับพระเจ้า ใช้เวลากับการอธิษฐานมากขึ้น เราก็จะเข้มแข็งและมีเรี่ยวแรงขึ้น
ดังนั้น เราจะต้องไม่ปล่อยตัวเองให้ติดปมด้อย ในความอ่อนแอนั้น พระเจ้าทรงตอบสนองโดย “ อาศัยความอ่อนแอ ” ข้าพเจ้าปรารถนาพระเจ้า และข้าพเจ้าไม่สามารถดำเนินชีวิตโดยปราศจากพระองค์ได้” เหมือนกับกษัตริย์ดาวิดในสดุดีว่า “…จิตใจของข้าพเจ้าอยู่กับพระองค์ โอพระเจ้าข้า”

หลักสำคัญประการที่ 3

พระเจ้าทรงเสริมเรี่ยวแรงให้แก่ผู้ที่รอคอยพระองค์

“แต่เขาทั้งหลายผู้รอคอยพระเจ้าจะเสริมเรี่ยวแรงใหม่ เขาจะบินขึ้นด้วยปีกเหมือนนกอินทรี เขาจะวิ่งและไม่เหน็ดเหนื่อย เขาจะเดินและไม่อ่อนเปลี้ย” (อสย.40:31)
การรอคอยพระเจ้าด้วยคำอธิษฐานและร้องทูลขอนั้นคล้ายกับ กฎของการแทนที่ ถ้าท่านเทน้ำใส่แก้ว แล้วหย่อนก้อนหินตามลงไป กฎของการแทนที่ก็จะบีบบังคับให้น้ำล้นออกมาเท่ากับปริมาณของก้อนหินที่ใส่ลงไป ฉันใดก็ฉันนั้น พระเจ้าทรงมาเพื่อชีวิตของคุณ พระองค์ทรงเติมเรี่ยวแรงกำลังให้กับเรา นั่นเท่ากับว่าพระเจ้าทรงหย่อนก้อนหินที่เป็นพละกำลังของพระองค์ หินที่เป็นกำลังของพระองค์นั้นเข้าไปแทนที่ปมด้อยต่างๆและความเย่อหยิ่งในใจ “โธ่ พระเจ้า แค่นี้เหรอข้าพเจ้าก็ทำได้”

การหลอมความทุกข์ยากลำบาก
บางคนอาจตั้งคำถามขึ้นว่า ฉันจะให้พระเจ้าเสริมเรี่ยงแรงใหม่ให้กับฉันได้ยังไง แน่นอนไม่มีทางที่ท่านจะทำได้ มันจะเป็นไปได้ก็ต่อเมื่อท่านรอความหวังจากพระเจ้า นั่นคือกระบวนการธรรมชาติที่เหนือธรรมชาติ ถ้าท่านรอคอยพระองค์ อธิษฐานต่อพระองค์ พระองค์จะทรงเสริมเรี่ยวแรงในตัวท่าน การรับเอากำลังของพระเจ้าด้วยการรอคอยนั้นเป็นเสมือนการเจริญเติบโตนั่นเอง พูดให้ง่ายเข้าก็คือ ไม่มีใครจะลดหรือเพิ่มความสูงของตัวเองได้ถ้าเพียงแต่คิดอย่างเดียว เมื่อท่านยังเด็ก ท่านใฝ่ฝันเหลือเกินว่าจะต้องโตหรือเป็นผู้ใหญ่ให้ได้ แล้วท่านคิดว่าจะโตขึ้นได้นั้นหรือ ไม่ – มันเป็นไปไม่ได้ การที่จะเติบโตขึ้นได้นั้นก็ต้องอาศัยชีวิตและกินอาหารที่เพียงพอ อาหารที่เหมาะสมและสิ่งแวดล้อมที่ดีก็จะทำให้ชีวิตมีการเติบโตด้านสรีระ นี่เป็นเหตุผลเดียวกับการเติบโตฝ่ายวิญญาณด้วยเช่นกัน เป็นขบวนการที่ไม่มีการอนุโลมแต่อย่างใด
ถ้าคุณจุดเตาและเอาน้ำมาใส่กาต้ม แน่นอนว่าอีกไม่นานน้ำจะเดือด ท่านอาจจะนั่งเฝ้าอยู่ใกล้ๆหรือนั่งอ่านหนังสือ รอจนกว่าน้ำจะเดือด แต่ไม่ว่าจะเลือกวิธีไหน น้ำในกาก็จะต้องเดือดในไม่ช้า เหตุที่น้ำในกาเดือดได้นั้นก็เพราะไฟที่ลุกอยู่ใต้กาน้ำ ไม่ใช่เพราะน้ำในกา

การหลอมความทุกข์ยากลำบาก

เมื่อเราเผชิญกับไฟแห่งความทุกข์ยาก จะมีบางสิ่งบางอย่างที่เกิดขึ้นภายในตัวเรา ซึ่งเป็นผลเพียงเล็กน้อย เพราะไฟนั้นเราจะได้รับประสบการณ์การเปลี่ยนแปลงภายใน แต่เจตนาของเราก็ยังคงบริสุทธิ์ ความปรารถนาต่อบาปได้รับการเผาผลาญเสียด้วยไฟแล้ว เช่นเดียวกับอัครสากเปโตรได้เขียนว่า “…เพราะว่าผู้ที่ทนทุกข์ทรมานทางกายเช่นนี้ก็ไม่สัมพันธ์กับบาปแล้ว” (1ปต.4:1)
ระหว่างที่ท่านรอคอยพระเจ้าอยู่นั้น พระองค์จะทรงอนุญาตให้เกิดไฟแห่งการทดลอง และการทดสอบ ชีวิตของท่านก็จะได้รับผล 2 ประการเพราะความร้อนที่ได้เผาผลาญ
1. ความบาปและสิ่งที่ไม่มีค่าในตัวท่านก็จะถูกชำระด้วยไฟ
2. ฤทธิ์เดชของพระเจ้าได้ปรากฎในตัวท่านและจะเป็นเหตุให้ท่านกระตือรือร้นได้อย่างเหนือธรรมชาติ ทั้ง 1 และ 2 ข้อนี้มักจะเกิดขึ้นเสมอกับผู้ที่รอคอยพระเจ้า

เมื่อท่านทูลขอฤทธิ์เดชจากพระเจ้า ผมก็หวังว่าท่านจะเข้าใจดีว่าท่านกำลังขอเพื่ออะไร? เพราะในสดุดี102:23 กษัตริย์ดาวิดทูลต่อพระเจ้าว่า “พระองค์ทรงหักกำลังของข้าพเจ้ากลางทาง…” ดังนั้นเมื่อท่านเริ่มร้องขอฤทธิ์เดชจากพระเจ้า พระองค์ทรงตรัสถามว่า “เจ้ากำลังหมายถึงสิ่งนั้นๆจริงหรือ ถ้าอย่างนั้นเราจะให้สัญญากับเจ้า เราจะให้เจ้ามีกำลัง” แล้วพระองค์ทรงดำเนินตามมาและทรงตีท่านจนล้มลงกองกับพื้น และท่านรู้สึกงุนงงและสั่นหัว แล้วพูดขึ้นว่า “ ท่าน – ท่านเป็นมาร ” แต่พระเจ้าทรงตรัสว่า “ ไม่ – ไม่ใช่มาร แต่เป็นเราต่างหาก ก็ไหนเจ้าขอกำลังจากเรามิใช่หรือ และเรากระทำให้เจ้ารู้ว่ากำลังของเรามีไว้สำหรับคนที่หมดเรี่ยวแรง ดังนั้นเจ้าต้องต้องอ่อนกำลังลง และเราจะตัดกำลังของเจ้า”

คราวที่โยบตกอยู่ในการทดลองของพระเจ้านั้น ท่านไม่เคยจะตำหนิต่อมารเลย พระคัมภีร์ได้แสดงให้เห็นว่ามารซาตานเป็นแหล่งที่มาของความทุกข์ยากแสนสาหัสมากมายในชีวิตของโยบ แต่โยบไม่เคยกล่าวหามารซาตาน ท่านได้พูดว่า “ พระหัตถ์ของพระเจ้าทรงแตะต้องข้าพระองค์ ” โยบรู้ดีว่าท่านไม่ได้ถูกจัดการเพราะซาตาน และพระเจ้าต่างหากที่เกี่ยวข้องกับพวกเรา
ยามใดที่เราเริ่มแสวงหาฤทธิ์เดช สง่าราศีและชีวิตในพระเจ้า เพื่อพระองค์จะทรงสำแดงผ่านชีวิตของเรา การตอบสนองจากคำร้องทูลของเรานั้น มักจะไม่มาในรูปที่เราคาดหวังไว้ เราอธิษฐานขอให้ตัวเราเองมีความอดทน แต่พระเจ้าทรงประทานให้เกิดความทุกข์ยาก เพราะความทุกข์ยากทำให้เกิดความอดทน

พระเจ้าทรงปรากฎต่อเราด้วยการแปลงพระกาย
ท่านอธิษฐานว่า “ข้าแต่พระเจ้า ข้าพระองค์ต้องการชีวิตที่สมบูรณ์แบบในพระองค์” แล้วพระเจ้าจะทรงว่าอย่างไร? พระองค์ก็จะส่งท่านไปอยู่ในคุกเหมือนกับโยเซฤ และท่านก็เริ่มแสดงอารมณ์ฉุนเฉียวเพราะถูกจำกัดสถานที่ ถูกคุมขัง ถูกควบคุม แล้วท่านพูดว่า “โอ้ย ข้าอยากจะออกจากที่นี่ไปให้พ้นๆเสียที” แต่คงจะไม่ได้หรอกเพราะพระเจ้าทรงนำท่านไปไว้ที่นั่นแล้วเพราะพระองค์กำลังตอบคำอธิษฐานของท่าน แต่ทว่ามันไม่ใช่วิธีการที่ท่านต้องการ ทั้งหมดนี้ทรงมาหาท่านด้วยการบิดเบือนหรือปลอมแปลง พระองค์ทรงสดับฟังคำอธิษฐานและทรงตอบแล้ว แต่ท่านเองกลับไม่รู้ว่านั่นเป็นคำตอบที่มาจากพระเจ้า “เป็นการกระทำด้วยพระประสงค์อันดีและกระทำโดยพระกรุณาธิคุณ”
ท่าทีการตอบสนองของท่านต่อสถานการณ์ที่พระเจ้าเป็นผู้กำหนดให้เกิด ถ้าเราไม่รู้สึกขมขื่นในจิตใจ เราก็จะดีขึ้น มีเพียงผู้เดียวที่ทำให้แตกต่างออกไปได้ ซึ่งก็คือ “ตัวท่าน” แต่พระเจ้าทรงปรารถนาให้ท่านมีสภาพที่ดีขึ้น “…ข้าพเจ้าเองไม่มีชีวิตอยู่ต่อไป แต่พระคริสต์ต่างหากที่ทรงมีชีวิตอยู่ในขช้าพเจ้า…” (กท.2:20) ถ้าเป็นอย่างนี้แล้วก็หมายความว่า ท่านสามารถรับความทุกข์ยากลำบากทุกอย่างได้ และพูดว่า “โอ พระบิดาขอบพระคุณพระองค์ ข้าพเจ้าเห็นแล้วว่าเป็นพระองค์นั่นเอง: พระองค์ทรงอยู่ในความทุกข์ยาก การทดลอง กับดัก ความยุ่งยาก ความสิ้นหวัง” เมื่อท่านพูดได้อย่างนี้ว่า “ นี่คือพระบิดาเจ้า ” บอกได้ทันทีเลยว่าท่านได้รับฤทธิ์เดชจากพระเจ้าแล้ว

พระเจ้าทรงตัดสินอย่างไรว่า ผมได้ผ่านขั้นแรกไปสู่ขั้นที่สอง พระองค์ทรงพิจารณาจากความทุกข์ยาก ซึ่งขึ้นอยู่กับท่าทีของผมในช่วงแห่งการทดลอง การพิสูจน์และความทุกข์ยากที่จะพิจารณาผมให้เลื่อนชั้น เมื่อความกดดันมากขึ้น ผมตอบสนองอย่างไร? ถ้าผมมีท่าทีถูกต้อง พระเจ้าจะทรงตรัสว่า “ทำได้ดีมาก เจ้าผ่านขั้นนี้แล้ว เอาล่ะ คราวนี้จะให้บทเรียนที่ยากขึ้นเพื่อจะสอนเจ้า เพื่อเจ้าจะไปถึงขั้นที่สองได้”
ใช่แล้ว เราจะพบกับความทุกข์ยากมากกว่าก่อน เพราะในทุกสถานการณ์พระเจ้าจะเลื่อนขั้นต่อไป มีการคัดเลือกเพื่อตัดสินใจ พระคัมภีร์กล่าวไว้ว่า “มีหลายคนที่ถูกเรียกแต่มีเพียงบางคนที่ถูกเลือก” เหตุที่มีเพียงไม่กี่คนได้ถูกเลือกก็เพราะระหว่างที่เผชิญกับความทุกข์ยากนั้น คนส่วนมากก็พ่ายแพ้ต่อการทดสอบ ดังนั้น เมื่อเราสอบตก เราก็ไม่ได้รับเลือกที่จะขึ้นไประดับสูงกว่า และถึงระดับผู้นำ

เราต้องเรียนรู้จักพระเจ้าในการทดลองทุกอย่างที่มาถึงเรา ถ้าเราได้เรียนรู้และเข้าใจพระเจ้า ก็จะทรงทำงานในชีวิตของเราด้วยการทรงนำเราออกมาจากการทดลอง
อิสยาห์ 48:10 กล่าวว่า ” เราได้ทดลองดูเจ้าในเตาของความทุกข์ใจ ” คำว่า ” ได้ทดลอง ” หมายถึง ” เลื่อนขั้ น” เมื่อท่านส่งการบ้านให้ครู พอถึงปลายเทอม ท่านก็จะได้เลื่อนขั้น

สรุป
สิ่งที่เราเรียนรู้ก็คือ

1. ผู้ที่รอคอยพระเจ้า เขาจะได้รับเสริมเรี่ยวแรงใหม่

2. พระเจ้าทรงเข้ามาในชีวิตของเราเป็นการส่วนตัว และเป็นหมู่คณะ พระองค์ทรงเสริมกำลังและกำลังนั้นได้เข้ามาแทนที่ตัวเรา ด้วยพระองค์เองอย่างแท้จริง

3. เราจำเป็นต้องเรียนรู้ว่าในสถานการณ์ที่ดูเหมือนว่าขัดแย้งกับเรานั้น พระหัตถ์อันเต็มเปี่ยมด้วยพระเมตตาคุณของพระเจ้าได้เสาะแสวงหา เพื่อจะทำกิจใหญ่ยิ่งในชีวิตของเรา

4. ในความทุกข์ยากมีเพียงบางคนสามารถผ่านการทดสอบ บางคนได้เลื่อนระดับขึ้นไป พระเจ้าทรงตรัสว่า “ เมื่อเจ้าได้สัตย์ซื่อในสิ่งเล็กน้อย เราจะให้ครอครอบครองในสิ่งใหญ่ ”

บทความโดย ราล์ฟ มาโฮนี วันที่ 22/04/2004