บารนาบัส เป็นผู้นำคริสตจักรในช่วงเริ่มต้น ชื่อจริงคือ โยเซฟ จากเผ่าเลวี เกิดที่เกาะไซปรัส นอกเขตอิสราเอล แต่คนกับเรียกว่าบารนาบัส ซึ่งเป็นฉายาที่บรรดาอัครทูต (กลุ่มสาวกที่พระเยซูทรงเลือกและแต่งตั้ง) แปลว่า “ลูกแห่งการหนุนน้ำใจ” ไทยเราน่าจะเรียกว่าคนน้ำใจงาม เป็นบุคคลที่สร้างคุณประโยชน์ให้แก่คริสตจักรอย่างมาก สืบมาจนทุกวันนี้ เราจะเห็นว่า พระธรรม กิจการกล่าวถึงท่านเพียงเล็กน้อย และกระจายอยู่ในหลายบท และเท่าที่ปรากฎ ไม่มีวรรคตอนใดเลยที่ระบุว่า ท่านได้ทำอะไรที่เป็นด้านการอัศจรรย์ หรืออิทธิฤทธิ์ อีกทั้งไม่ปรากฎว่ามีพระธรรมเล่มใดที่เขียนโดยท่าน (แม้จะมีข้อสันนิษฐานว่าท่านเป็ผู้เขียนพระธรรม ฮีบรู แต่ก็ไม่มีการยืยยัน) บารนาบัสมีสิ่งที่ชวนให้เราได้เรียนรู้และรับการหนุนใจว่า “พระเจ้าทรงใช้เราทุกคนได้ หากเปิดชีวิตให้ทรงใช้ ” จะเห็นได้ทั้งสิ่งที่ได้รับมอบหมายให้รับใช้ ด้านจิตวิญาณ และคุณสมบัติ จากด้านชีวิตส่วนตัวที่แสดงออกว่า “เป็นลูกแห่งการหนุนน้ำใจ”
ด้านจิตวิญญาณ พระธรรมระบุว่า บารนาบัส เป็นคนดี เต็มเปี่ยมด้วยพระวิญญาณบริสุทธิ์ และความเชื่อ ซึ่งเราจะพูดรวม ๆ โดยสรุปก็คือ เป็นผู้มีชื่อเสียงในทางที่ดีในสายตาของพี่น้อง (สิ่งที่แสดงออกต่อเพื่อนมนุษย์) ชีวิตที่สำแดงผลของพระวิญญาณ (กท 5:22-23) มาจากการมีชีวิตที่สนิทกับพระเจ้า (2 คร 3:3, 17-18) เป็นผู้ดำเนินชีวิตที่สำแดงออกถึงการวางใจ และเชื่อฟังพระเจ้า (ฮบ 11:1, 6 1 ซมอ 15:22, สภษ 3:5-6) ประการเหล่านี้ต้องมาจากความตั้งใจส่วนบุคคล สำหรับคนที่ต้องการให้ชีวิตเป็นที่ถวายเกียรติแด่พระเจ้า
เราพร้อมที่จะลงทุนชีวิตแบนี้หรือไม่ (โปรดติดตามต่อ ครับ)
บารนาบัสกับภารกิจที่ได้รับมอบหมาย การเป็นผู้ร่วมงานที่ดี คือเต็มใจทำงาน โดยคำนึงถึงผลประโยชน์ส่วนรวม และ เป็นประโยชน์ต่อผู้ที่เกี่ยวข้อง ซึ่งเราจะเห็นได้จาก
(1) ได้รับมอบหมายจากอัครทูตในเยรูซาเล็ม ให้ไปเยี่ยมพี่น้องผู้เชื่อใหม่ ที่เมืองอันทิโอก ที่เกิดจาก สาเหตุการข่มเหงที่เยรูซาเล็ม และ พี่น้องที่ลี้ภัยไป เป็นพยานต่อเนื่อง (แบบอย่างที่หนุนใจ) ผู้เชื่อใหม่ ได้รับการหนุนใจให้มั่นคงยิ่งขึ้น ผู้ที่จะรับใช้ด้านนี้ มีแบบชีวิตที่มั่นคง และเข้าใจบทบาทของพี่เลี้ยงฝ่ายจิตวิญญาณ ที่หนุนใจให้รูว่า เป็นงานที่สำคัญ ผู้เชื่อเข้มแข็งก็จะมีคริสตจักรที่เข้มแข็งด้วย (กจ 11: 19-23)
(2) ได้รับมอบหมายจากพี่น้องคริสเตียนใหม่ ในเมืองอันทิโอก นำความช่วยเหลือ กลับไปสู่พี่น้องในเยรูซาเล็ม งานนี้เป็นทูตสัมพันธ์ที่สื่อความรักและความเห็นอกเห็นใจ นี่อาจจะเป็นส่วนหนึ่งจากความคิดริเริ่มของบารนาบัส ผู้ที่มีน้ำใจแล้วช่วยแนะนำ และงานนี้ไม่ทำลำพังแต่ร่วมกับ เซาโล (เปาโล ) ซึ่งเวลานั้น น่าจะยังเป็นผู้ติดตามอยู่ ( กจ 11 : 29 – 30)
(3) คริสตจักรในอันทิโอก เริ่มเป็นคริสตจักรที่ส่งมิชชั่นนารี่คณะแรกออกไปประกาศในทุ่งนาฝ่ายวิญญาณแห่งใหม่ โดยเริ่มต้นบารนาบัสเป็นหัวหน้าทีม งานนี้คือหัวใจ เพราะพระเยซูทรงบัญชาให้สาวกออกประกาศแก่ชนทุกชาติ คริสตจักรได้ส่งคนที่เหมาะสมที่สุด เพราะมีใจรักจิตวิญญาณ (กจ 1:8, 13: 1 – 3, 1 คร 9: 16 – 18)
(4) คริสตจักร ของคนต่างชาติ ซึ่งเป็นผลจากการรับใช้ของเปาโลกับบารนาบัส ได้ส่งให้ท่านทั้งสองเป็นตัวแทน ไปหารือกันถึงปัญหา ที่เกิดความขัดแย้ง เพราะความเชื่อที่พวกคริสเตียนยิว พยายามให้คริสเตียนต่างชาติยึดถือ ซึ่งเป็นสิ่งที่ขัดกับสาระที่แท้จริงแห่งข่าวประเสริฐ ซึ่งต้องการคำตอบ และวิธีแก้ไข จะเห็นว่าทั้งสองท่าน ได้ทำหน้าที่ ในการชี้แจง อีกทั้งคำพยาน ที่มีน้ำหนัก ทำให้มีคำแนะนำที่ก่อให้เกิดสันติสุข (ข้อขัดแย้งที่ไม่ใช่คำสอนเท็จ น่าจะมีข้อสรุปแบบนี้ ) (กจ บทที่ 15:1- 35)
คุณสมบัติประการสำคัญที่ทำให้ บารนาบัส ได้รับฉายาว่า ลูกแห่งการหนุนน้ำใจ น่าจะมาจากบาทบาทที่ปรากฎในพระธรรม และสิ่งที่ทำต่อไปนี้
1) ความเอาใจใส่ในทุกข์สุขของพี่น้อง เวลานั้นผู้เชื่อเกิดขึ้นมาก และหลายคนคงจะถูกข่มเหง เพราะเหตุความเชื่อ คริสตจักรจึงต้องดูแลช่วยเหลือ บารนาบัส น่าจะละเลยเรื่องนี้ได้ เพราะ เขาเป็นพวกเลวี ท่ีไม่มีส่วนแบ่ง ในเรื่อทรัพย์สิน(ท่ีดิน) ในเขตอิสราเอล ตามพระบัญญัติ แต่เขาไปขายที่ดินของเขาที่นอกเขต ไซปรัส) แล้วนำเงินมาช่วยเหลือพี่น้อง ในสมัยของเราน่าจะประยุกต์เรื่องนี้ไปที่การดูแลเอาใจใส่พี่น้อง ที่เรียกว่าร่วมทุกข์ร่วมสุข ตามโอกาส เราเคยทักทายพี่น้องด้วยใจที่รักและห่วงใยจริง ๆ หรือทำเพียงพิธี เมื่อได้ยินว่าพี่น้องยากลำบาก เคยคิดที่จะช่วยอย่างจริงจังหรือไม่ (กจ 4:34-37, 1 ยน 3:17-18, ยก 2:15-17)
2) เป็นสะพานที่เชื่อมโยงพี่น้องให้เข้าหากัน เมื่อเปาโลกลับใจใหม่ หลังจากพบพระเยซูที่ระหว่างทางไปดามัสกัส กลับมาที่เยรูซาเล็ม อยากจะไปหาพี่น้องคริสเตียน แต่ไม่มีใครเชื่อและวางใจ เพราะเขากลัวว่าเป็นกลลวง แต่บารนาบัสทำหน้าที่เป็นผู้ชื่อม โดยพาเปาโลไปหาอัครทูต และเล่าถึงเรื่องการกลับใจ ที่นี่เราจะเห็นถึงความรัก แบบที่เชื่อในส่วนดี และความรักแบบที่ไม่ช่างจดจำความผิด ทั้งที่เมื่อตอนที่เปาโลข่มเหงคริสตจักร บารนาบัสคงได้รับความเดือดร้อนด้วย กจ 9:26-28, 8:1-3, 9:1-2 1 คร13:4-5)
3) บารนาบัส เป็นผู้เสาะหา และพัฒนาเพื่อนร่วมงาน ภารกิจที่รับใช้ ที่อันทิโอก ซึ่งเขาทำคนเดียวบังเกิดผลดี และไม่จำเป็นที่จะต้องหาคนมาร่วม ซึ่งทำให้ต้องรับผิดชอบ ถ้ามีความผิดพลาดหรือบกพร่อง แต่บารนาบัสกลับไปพาเซาโล (เปาโล) มาร่วมงานด้วย ซึ่งตอนนั้นเปาโลกลับไปเก็บตัวที่ทาร์ซัส ทำให้เปาโลก้าวมาสู่การรับใช้ที่กว้างขึ้น นอกจากนั้น บารนาบัส ยังเป็นผู้นำ มาระโกมาสู่การรับใช้ด้วย ( กจ 11:25-26 , 12:25, 13:5) การมีเพือ่นร่วมงานเป็นสิ่งล้ำค่า เพราะจะมีคนมาสานต่องานเมื่อเราไม่อยู่แล้ว หรือเมื่อเราย้ายไปสู่ที่อื่นจะไม่ขาดตอน และไม่เสียไป
4) บารนาบัสสนับสนุนผู้ร่วมงานให้ก้าวหน้า คณะมิชชั่นนารี่แรก เมื่อเริ่มงานบารนาบัสเป็นหัวหน้าทีม แต่เมื่อไปสักระยะ ความโดดเด่นของของประทานที่เหมาะกับภารกิจ ปรากฎในการรับใช้ของเปาโล ตำแหน่งจึงถูกสลับ เชื่อว่าคงเป็นบารนาบัสที่สลับเอง และยังคงอยู่ในทีมในฐานะผู้สนับสนุน ซึ่งเป็นสิ่งที่เราแทบไม่เคยพบในวงการใด ๆ ทำให้คิดถึง คำว่ากำหนดคนให้เหมาะกับงาน (put the right man in the right job) ส่วนใหญ่เราจะพบว่าคนที่ถูกลดตำแหน่งจะมีความขมขื่น ในเหตุการณ์นี้ มาระโกออกจากทีมกลับบ้านกลางคัน ทำให้เกิดปัญหาในเวลาต่อมา (กจ 13:3,13 2 ทธ 2 : 20 – 21)
5) บารนาบัส ให้โอกาสคนผิดพลาด (บกพร่อง) เริ่มต้นใหม่ ต่อมาเปาโลชวนบารบัสออกเดินทางรอบที่ 2 ในพันธกิจ บารนาบัสต้องการให้โอกาสมาระโกอีกด้วยการเอามาร่วมทีม แต่เปาโลไม่เห็นด้วย ทำให้เกิดความขัดแย้งจนต้องแยกกัน จะเห็นว่าความขัดแย้งนี้มาจากบุคคลที่ 3 และผลแห่งการแยกนี้ บารนาบัสหายไปจากบันทึกในพระธรรมกิจการ ในขณะที่เปาโลเกิดผลตามมามากมาย แต่ในช่วงปลายพันธกิจของเปาโล เขากลับยกย่องมาระโกว่าเป็นเพื่อนร่วมงาน และต้องการความช่วยเหลืออย่างมาก (กจ 15:36 – 39, คส 4:10, ฟม ข้อ 24, 2 ทธ 4: 11)
ถ้าหากไม่มี บารนาบัส เราอาจจะไม่ได้อ่านพระธรรมมาระโก และอาจจะไม่ได้อ่านจดหมายฝาก ทั้ง 13 ฉบับของเปาโลก็เป็นได้ ดังนั้นชีวิตที่ติดตามพระเจ้าของเราหากเราถวายให้พระองค์ปั้นแต่งเราตามพระประสงค์ของพระองค์ เราก็อาจะมีชีวิตแบบบารนาบัสได้ จงถวายชีวิตของเราให้พระองค์
บทความโดย ศจ.เดชา อังคศุภรกุล
27/6/2016