การเลือกที่จะมีเสรีภาพและเป็นไท
จำเป็นที่เราต้องมีความตั้งใจที่จะนำอดีตมามอบให้กับพระเจ้าและรับเอาอนาคตอันรุ่งเรือง ที่พระองค์มอบให้เรา 2 ทธ.2:20-21
บ้านหลังใหญ่เปรียบเหมือนความคิดของเรา ซึ่งประกอบไปด้วยความทรงจำมากมายทั้งดีและไม่ดี ชัยชนะและความล้มเหลว ความเจ็บปวดและความสุข
1. เสรีภาพจากประสบการณ์/การปฏิบัติ/การเกี่ยวข้องกับเรื่องฝ่ายวิญญาณที่ไม่ได้มาจากพระเจ้า
ให้เราเพิกถอนการกราบไหว้ การผูกพัน และการมีส่วนร่วมกับสิ่งต่างๆ ที่เกี่ยวข้องกับรูปเคารพ ไสยศาสตร์ทุกรูปแบบ
ตัวอย่างคำอธิษฐาน
ข้าแต่พระเจ้า ข้าพระองค์ขอมอบถวายชีวิตของข้าพระองค์แด่พระเยซูคริสต์เจ้าเพียงผู้เดียว ข้าพระองค์ทูลขอการอภัยโทษจากพระองค์ในการกราบไหว้และยอมรับพระอื่นซึ่งไม่ใช่พระเจ้า ผู้เที่ยงแท้ อีกทั้งขอทรงโปรดยกโทษข้าพระองค์ที่เคยขอความช่วยเหลือ การปกป้องคุ้มครอง การทำปฏิญญาณกับพระเหล่านั้น ขอทรงโปรดชำระข้าพระองค์ให้สะอาดโดยพระโลหิตของพระองค์ และขอทรงปกป้องคุ้มครองข้าพระองค์ ครอบครัวของข้าพระองค์ และทรัพย์สินที่พระองค์ทรงประทานให้ในนามพระเยซูคริสต์ บัดนี้ขอเพิกถอนการนมัสการการขอความช่วยเหลือทุกอย่างที่เคยขอต่อ ………….………… ขอประกาศว่าคำปฏิญาณ การติดต่อสัมพันธ์เกี่ยวข้องทั้ง โดยสัญญลักษณ์ การรับเอาเข้ามาในชีวิต การร้องขอความช่วยเหลือใด ๆ ทั้งหมดให้เป็นโมฆะ ขอเพิกถอน ตัดความสัมพันธ์ โดย พระโลหิตของพระเยซูคริสต์ ข้าพระองค์ขอบคุณพระเยซูเจ้า อาเมน
สิ่งที่ต้องทำ : กจ.19:19
2. เสรีภาพจากความขมขื่น
ประสบการณ์/ความสัมพันธ์ที่ไม่ดีในอดีต เราต่างไม่ต้องการจดจำ ถ้าเรานึกถึง/นึกได้/มีคนพูดถึงแล้วเราได้ยิน เราจะโกรธและไม่อยากพูดถึง/ไม่อยากฟัง และโดยทั่ว ๆ ไป เราจะหลีกเลียง การสร้างความสัมพันธ์กับคน เราจะถอยหนีจากความสัมพันธ์ที่แน่นแฟ้น หรือไม่ก็มีพฤติกรรม แง่ลบ เช่น กลัว, เฉยเมย, โกรธ, ฉุนเฉียว ฯลฯ
โดยธรรมชาติเราจะพยายามเยียวยารักษาตนเองโดยการพยายามลืม แต่ในความเป็นจริง เราไม่สามารถลืมได้และด้วยวิธีการของมนุษย์นั้นก็ไม่สามารถนำมาซึ่งการบำบัดรักษา แต่ทำให้เรา บกพร่องและทำลายความชื่นชมยินดีในการสร้างความสัมพันธ์ที่ดี แต่พระเจ้าต้องการเยียวยารักษาเราและปลดปล่อยเรา กุญแจที่จะนำสู่การเยียวยารักษาบาดแผลทางอารมณ์ก็คือ การยกโทษ การยกโทษผู้อื่น ก็เพื่อ
1. ซาตานไม่สามารถที่จะให้เราเป็นเหยื่อของมัน (2 คร.2:10,11)
2. พระเจ้าให้อภัยเรา (ลก.6:14-15)
ขั้นตอนการยกโทษ
1. รับรู้ความเจ็บปวด ความเกลียดชัง และความขมขื่น
ไม่ต้องพยายามให้เหตุผลหรืออธิบายถึงพฤติกรรมของคนที่ทำต่อเรา การยกโทษเกี่ยวข้องกับการจัดการกับความเจ็บปวดของเราไม่ใช่คำกล่าวแก้ของผู้อื่น ยอมให้พระเจ้านำเอาพิษ (เหล็กใน) ของความเจ็บปวดออกไปจากเรา ไม่ต้องปฏิเสธที่จะประสบกับความเจ็บปวดที่เราต้องเผชิญ ความชื่นชมยินดีในพระเจ้าจะหลั่งไหลเข้าสู่จิตใจเรา หลังจากที่พระองค์ได้จัดการกับการถูกทำร้ายจิตใจ ความเจ็บปวดแล้วรักษาบาดแผลของเรา
2. ขอให้พระเจ้านำเราให้รู้ว่าเราจะต้องยกโทษให้กับใครบ้าง
คำอธิษฐาน
ข้าแต่พระบิดาเจ้า ข้าพระองค์ขอบคุณพระองค์สำหรับความอุดมในพระเมตตาและความอดทน ข้าพระองค์รู้ว่าโดยพระเมตตาของพระองค์ได้นำข้าพระองค์ให้กลับใจใหม่ (รม.2:4) ข้าพระองค์สารภาพว่า ข้าพระองค์มิได้หยิบยื่นความอดทนและความเมตตานั้นต่อผู้ที่ทำร้าย/ทำผิดต่อข้าพระองค์ แต่ได้ให้เนื้อที่สำหรับความขมขื่น และความขุ่นเคืองใจ ข้าพระองค์อธิษฐานขอให้พระองค์ตรวจสอบจิตใจของข้าพระองค์และนำให้ข้าพระองค์รู้ว่าจะต้องยกโทษกับผู้ใดบ้าง (มธ.18:35) ทูลขอในพระนามอันประเสริฐขององค์พระเยซูคริสต์เจ้า อาเมน.
3. ยกโทษจากใจของท่าน : ยกโทษและอวยพระพร
อภัยให้กับผู้นั้นทั้งหมด นั่นหมายความว่ายกโทษให้เขา และอวยพรให้กับเขา อย่าลืมว่าการยกโทษเป็นความตั้งใจ/การตัดสินใจที่จะกระทำ อย่ารอจนกว่าจะรู้สึกว่าอยากยกโทษ แต่ให้ตัดสินใจที่จะยกโทษ แล้วความรู้สึกจะตามมาเอง การที่จะนำสู่การยกโทษอย่างสมบูรณ์ เราต้องทำ 2 ส่วน คือ
1.) ความเต็มใจที่จะปลดปล่อยความขมขื่น ความเกลียดชัง และการเรียกร้องขอความยุตติธรรม (การแก้แค้น)
2.) ความเต็มใจที่จะอวยพรคนที่ทำผิดต่อเรา
เมื่อพระเจ้านำชื่อ/หน้าของแต่ละคนเข้ามาในความคิดของเรา ให้เราอธิษฐานออกเสียงว่า “ข้าแต่องค์พระผู้เป็นเจ้า ข้าพระองค์ยกโทษให้กับ ……………………………………. สำหรับ ระบุสิ่งที่เขาทำต่อเรา / ความเจ็บปวดอย่างเจาะจง
(อย่าอธิษฐานว่า ข้าแต่พระเจ้าขอทรงโปรดช่วยข้าพระองค์ให้ยกโทษ เพราะว่าพระเจ้าได้ช่วยคุณแล้ว และอย่าอธิษฐานว่าข้าแต่พระเจ้า ข้าพระองค์ต้องการที่จะยกโทษ เพราะว่าคุณได้ข้ามจุดของการตัดสินใจที่จะยกโทษ ซึ่งเป็นความรับผิดชอบของคุณ)
3.1 เสรีภาพจากคำปฏิญาณและคำสาปแช่ง
คุณจำเป็นต้องเพิกถอนคำปฎิญาณ/การสาปแช่ง และคำสาป
(ไม่ว่าจะมาจากการลงโทษตนเอง หรือจากผู้อื่น) ซึ่งพูดกับคุณ
คำอธิษฐาน
ข้าแต่องค์พระเจ้า ข้าพระองค์ขอพระองค์ทรงโปรดอภัยข้าพระองค์ในการที่ข้าพระองค์ได้ทำการบนบาน/กล่าวคำปฏิญาณ ………………………………. ข้าพระองค์ขอพระองค์ทรงโปรดอภัยให้กับข้าพระองค์ด้วยที่ได้ไปหาหมอดู อ่านโชดชะตา และได้ยอมรับทุกคำพูดที่เขาได้พูดถึง/พูดต่อข้าพระองค์ ซึ่งเป็นคำสาปแช่งที่ผูกมัดข้าพระองค์ ซึ่งเป็นการไม่เชื่อในพระองค์และต่อสู้พระองค์และพระสัญญาของพระองค์ที่มีต่อข้าพระองค์ บัดนี้ข้าพระองค์ขอเพิกถอน ยกเลิก คำบนบาน/คำปฏิญาณ ที่ข้าพระองค์ได้กระทำและคำสาปแช่งทุกอย่างที่ได้รับมาจากหมอดู คนเข้าทรง และแหล่งอื่น ๆ
ข้าพระองค์ยกโทษให้กับผู้ที่แช่งด่าและพูดกับข้าพระองค์อย่างไร้เมตตา ข้าพระองค์อวยพรเขาด้วยเต็มหัวใจ ขอพระองค์ทรงโปรดอภัยให้กับข้าพระองค์ที่รับเอาคำพูดเหล่านั้นเข้ามาในชีวิตและมิได้เชื่อฟังคำตรัสและพระสัญญาของพระองค์ที่มีสำหรับข้าพเจ้า บัดนี้ข้าพระองค์ประกาศยกเลิก เพิกถอน คำแช่งสาป คำด่าที่คนอื่นพูดใส่ข้าพระองค์ ขอประกาศว่าสิ่งเหล่านั้นไม่มีผลในการผูกมัดข้าพระองค์อีกต่อไป ขอให้ทุกสิ่งเป็นโมฆะ และไม่มีอำนาจใดๆเหนือข้าพระองค์ ภายใต้พระโลหิตของพระเมษโปดก พระองค์ขอปลดปล่อยตนเองจากทุกสิ่งเหล่านั้นทั้งหมด ในบัดนี้ ในพระนามแห่งองค์พระเยซูคริสต์เจ้า
4. เสรีภาพจากบาปที่จงใจกระทำ
รูปแบบของบาปที่แสดงเป็นการกระทำและปฏิกิริยาตอบสนองที่เป็นบาป
คุณจำเป็นต้องได้รับการปลดปล่อยจากนิสัยบาปที่พันธนาการคุณ หากคุณถูกจับให้ตกในกับดักของการสารภาพบาปครั้งแล้วครั้งเล่า คุณอาจต้องการให้ใครบางคนอธิษฐานร่วมกับคุณสำหรับการปลดปล่อยอย่างสมบูรณ์ (ยก.5:16)
คำอธิษฐาน
ข้าแต่พระเจ้า โปรดอภัยให้กับข้าพระองค์สำหรับความบาป ………………………………………………..….. (เอ่ยชื่อบาปแต่ละอย่าง) ข้าพระองค์กลับใจใหม่จากบาปเหล่านี้ และทูลขอให้พระองค์ทรงโปรดชำระข้าพระองค์จากความบาปทั้งหลาย (1 ยน.1:9) เพื่อข้าพระองค์จะเป็นไทจากพันธนาการแห่งความบาป (กท.5:1)
ข้าพระองค์ขอรับเอาการอภัยโทษ และการชำระของพระองค์โดยพระโลหิตของพระองค์ ข้าพระองค์ขอยกเลิกพื้นที่ใด ๆ ที่วิญญาณชั่วได้ยึดไว้ผ่านความตั้งใจทำบาปของข้าพระองค์ ข้าพระองค์ขออ้างถึงพระสัญญาของพระองค์ใน (1 คร.10:13) ขอขอบคุณพระเยซูคริสต์ อาเมน.
5. เสรีภาพจากท่าทีและพฤติกรรมที่กบฎ
อาดัมล้มลงเนื่องจากการกบถต่อคำสั่งของพระเจ้า การกบฎต่อ พระเจ้าและสิทธิอำนาจของพระองค์เป็นการเปิดช่อง/โอกาสให้ ซาตานโจมตีเรา
พระคัมภีร์ได้ชี้ให้เห็นถึงความรับผิดชอบ 2 อย่าง ของเราต่อผู้ที่มี สิทธิอำนาจ คือ อธิษฐานเผื่อ และยอมต่อสิทธิอำนาจของเขา ใน สังคมปัจจุบันคนต่างเน้นและยึดสิทธิส่วนบุคคล เราจำเป็นต้อง เข้าใจว่าการยอมต่อสิทธิอำนาจนั้นหมายความว่าอย่างไร และต้อง เข้าใจด้วยว่าการกบถต่อสิทธิอำนาจเป็นการไม่เชื่อฟังพระเจ้า สิ่งนี้ ที่จะขวางกั้นการเจริญเติบโตของเรากับพระเจ้า
พระเจ้าสั่งเราให้ยอมจำนนต่อสิทธิอำนาจที่พระองค์แต่งตั้งไว้
1. ผู้ปกครองบ้านเมือง (รม.13:1-5; 1 ทธ.2:1-3; 1 ปต.2:13-16)
2. พ่อแม่ (อฟ.6:1-3)
3. สามี (1 ปต.3:1-3)
4. ลูกจ้าง (1 ปต.2:18-21)
5. ผู้นำในคริสตจักร (ฮบ.13:17)
การตัดสินใจเลือกที่จะยอมต่อสิทธิอำนาจเป็นการกระทำที่แสดงถึงความเชื่อในพระเจ้า และในสิทธิอำนาจที่พระเจ้าตั้งไว้ สิ่งเดียวที่พระเจ้าอนุญาตให้เราไม่ต้องเชื่อฟังผู้นำในโลกนี้ นั่นคือ เมื่อเขาให้เราทำในสิ่งที่ขัดแย้ง ไม่เชื่อฟังพระเจ้า/พระคำของพระองค์
คำอธิษฐาน
ข้าแต่พระเจ้า ข้าพระองค์รู้ว่าโดยท่าที และการกระทำ ข้าพระองค์ได้ทำบาปต่อพระองค์ และผู้มีสิทธิอำนาจที่พระเจ้าตั้งไว้ ข้าพระองค์ได้กบถ ขอพระองค์ทรงโปรดยกโทษกับข้าพระองค์ด้วยในการที่ข้าพระองค์กบถต่อ ………………………………………………………. โดยพระโลหิตของพระเยซู คริสต์ข้าพระองค์ขอให้ท่าทีและการกระทำที่กบถของข้าพระองค์ที่วิญญาณชั่วเข้ามาใช้พื้นที่เป็นโฆมะสิ้นสุด บัดนี้ข้าพระองค์เลือกที่จะยอมต่อพระองค์ และพระคำของพระองค์ รวมทั้งสิทธิอำนาจที่พระเจ้าแต่งตั้งไว้ในพระนามพระเยซูคริสต์เจ้า อาเมน.
6. เสรีภาพจากความเย่อหยิ่ง ,จองหอง
ซาตานล้มลงเพราะความเย่อหยิ่ง (อสค.28:2-17)
ในขณะเดียวกัน เราต้องตระหนักด้วยว่าเราไม่สามารถอยู่เองโดยลำพังได้ เราต้องการพระเจ้าและต้องการซึ่งกันและกัน นอกจากพระองค์แล้วเราไม่มีคุณค่าอะไรและทำอะไรไม่ได้เลย (ยน.15:5)
ใน สภษ.16:18 บอกกับเราว่า ความเย่อหยิ่งเดินหน้าการถูกทำลายและจิตใจที่ยะโสนำหน้า การล้ม และ ยก.4:6 บอกกับเราว่า พระเจ้าทรงต่อสู้ผู้ที่หยิ่งจองหองแต่ทรงประทานพระคุณแก่คนที่ใจถ่อม ดังนั้นเราจึงต้องไม่วางความไว้วางใจในตัวเราเอง แต่ในพระเจ้า
คำอธิษฐาน
ข้าแต่พระเจ้า ข้าพระองค์ขอสารภาพว่า ข้าพระองค์ เย่อหยิ่ง คิดว่าตนเองสามารถทำได้โดยตนเอง โดยไม่ต้องมีพระองค์และคนอื่น
ข้าพระองค์เชื่อว่าตนเองสามารถประสบความสำเร็จและมีชัยชนะด้วยกำลังเรี่ยวแรงและสิ่งที่ตนเองมีอยู่ ข้าพระองค์ขอสารภาพว่า ข้าพระองค์ขอทำลายความเห็นแก่ตัว วิถีการดำเนินชีวิตโดยตนเอง และอธิษฐานขอพระโลหิตของพระองค์ ชำระพื้นที่ทั้งหลายที่วิญญาณชั่วถือสิทธิ์ผ่านทางความเย่อหยิ่งและการอยู่ด้วยตนเอง เป็นโฆมะ ข้าพเจ้าขอยอมอยู่ภายใต้สิทธิอำนาจของพระองค์ (ยก.4:6) ข้าพระองค์จะไม่ทำสิ่งใดอย่างเห็นแก่ตัว ทะเยอทะยานและหยิ่งยะโส แต่ด้วยความถ่อมใจ โดยถือว่าคนอื่นดีกว่าตนเอง ข้าพระองค์จะไม่เพียงมุ่งแต่ความสนใจของตนเองแต่เอาใจใส่ในความสนใจของผู้อื่นด้วย ในพระนามของพระเยซูคริสต์เจ้า อาเมน.
7. เสรีภาพจากผลของการปฏิสนธ์และการคลอด
– ให้เชื่อว่าการปฏิสนธ์อยู่ในหัตถ์ของพระเยซู และพระองค์ต้องการให้เกิดมาและให้เป็นเพศ นั้นๆ
– ยกโทษให้กับพ่อแม่หากคนที่ท่านต้องการไม่ใช่ตัวเรา
– นึกถึงสภาวะที่อยู่ในท้องแม่ อธิษฐานให้พระวิญญาณบริสุทธิ์นำให้สัมผัสอารมณ์ของแม่
– อธิษฐานขอให้พระเจ้ารักษาอารมณ์ด้านลบของแม่ทั้งหมด
– อธิษฐานเผื่อทุกเดือนของการตั้งครรภ์
ใช้สิทธิอำนาจเหนือแต่ละเดือนเหล่านั้น
คอยฟังพระเจ้าว่ามีเรื่องอะไรพิเศษที่ต้องจัดการบ้าง
อวยพรเด็กและขอการปกป้องจากพระเยซูเผื่อเด็กทุกๆ เดือน
– อธิษฐานอวยพรเมื่อคลอดและให้เชื่อว่าเด็กนั้นอยู่ในพระหัตถ์ของพระเยซูคริสต์
– อธิษฐานเผื่อตั้งแต่เมื่อเป็นเด็กทารกจนถึงอายุสิบขวบ
8. เสรีภาพจากการมีเด็กตัวในซ้อนในตัวผู้ใหญ่
– อาการบางอย่างที่ปรากฎ เป็นการแสดงออกทางอารมณ์ของเด็กตัวในไม่ใช่จากตัวผู้ใหญ่
– บางครั้งเรามีเด็กตัวในอยู่หลายคน
– เด็กตัวในอาจไม่เหมือน / ไม่ชอบผู้ใหญ่
– เด็กตัวในอาจรู้สึกอับอายหากปรากฎออกมาต่อตัวผู้ใหญ่
การบำบัดรักษา
– อธิษฐานเชิญพระวิญญาณบริสุทธิ์นำเรากลับไปพบตัวเด็กของเรา
– สังเกตท่าที/การแสดงออกของเด็กนั้น
– สนทนากับเด็กนั้น
– ค้นให้พบว่าเด็กคนนั้นรู้สึก/ต้องการอะไร
ท่านและพระเยซูให้สิ่งนั้นแก่เขาได้ เช่น ปลอบใจในยามทุกข์, ให้ความสัมพันธ์ในยามอ้างว้างว้าเหว่, รักและยอมรับ ฯลฯ
– ขอโทษ หากจำเป็นต้องมี
– ให้พระเยซูนำเหตุการณ์ต่าง ๆ และอยู่ด้วยกับเด็กและตัวผู้ใหญ่ร่วมกัน
– ทำเช่นเดียวกันนี้กับเด็กตัวในทุกคนโดยให้พระวิญญาณชี้นำและเป็นผู้เรียกเด็กคนอื่น ๆ ทั้งหมด
บทความโดย อ.วรรณา ไทยวัชรมาศ