ผมได้ยินว่าคริสตจักรแห่งหนึ่งในเมืองเล็คแลนด์ รัฐฟลอริด้า ประเทศสหรัฐอเมริกา เป็นคริสตจักรที่มีคนทำงานนานหลายปีทีเดียว มีถึง 14 คนที่เป็นอาจารย์ซึ่งอยู่ภายใต้ศิษยาภิบาล คอร์ล ดี. สเตรเตอร์ เฉลี่ยแล้วแต่ละคนจะทำงานที่คริสตจักรนี้ประมาณ 7 ปี
เมื่อผมโทรศัพท์ถึงอาจารย์สเตรเตอร์ ท่านก็เลยเชิญให้ผมมาพบในวันจันทร์ เพราะเป็นวันที่ทุกคนในสำนักงานคริสตจักรจะต้องประชุมร่วมกัน ผมจึงฉวยโอกาสไปหาอาจารย์ ผมไปถึงคริสตจักรเวลา 8.00 น. มีเจ้าหน้าที่ 2 คนมาต้อนรับผมกับช่างภาพและบอกว่าจะมีการประชุมอธิษฐานเวลา 8.30 น.
ผมเลือกที่นั่งด้านหน้าเพราะต้องการจะดูใบหน้าของทุกคน ขณะที่เขาเดินเข้ามา ใบหน้าของทุกคนแจ่มใสและสดชื่น เจ้าหน้าที่เหล่านี้บางคนแต่งตัวเป็นช่างบ้าง เลขาบ้าง บางคนผูกเน็คไทบ้าง รวมประมาณ 40 คนต่างคนต่างคุยกันสนุกสนานมาก ผมจึงได้เคล็ดลับข้อแรก

เคล็ดลับข้อที่ 1

” ทุกคนมีวิญญาณเป็นกันเอง ”

เมื่อถึงเวลา 8.30 น.ตรง ชายผู้หนึ่งได้ยืนขึ้น(จิม แคมเบลล์) ผมสังเกตว่าเขาแต่งตัวธรรมดาแล้วไม่ไปยืนที่ธรรมาสน์แต่ยืนที่ม้านั่ง มือถือพระคัมภีร์เล่มหนึ่ง เขาอ่านพระคัมภีร์แล้วกล่าวพระวจนะด้วยภาษาที่เข้าใจง่าย หลังจากนั้นเขาขอให้ที่ประชุมอธิษฐานเผื่อครอบครัวที่กำลังไว้ทุกข์ มีผู้หญิงคนหนึ่งขอให้ที่ประชุมอธิษฐานเผื่อเรื่องการเงินของเธอ มีเจ้าหน้าที่ 2-3 คนเดินไปวางมืออธิษฐานเผื่อเธอ ที่ประชุมอธิษฐานเผื่อพี่น้องของคริสเตียนอย่างเอาจริงเอาจัง จนทำให้ผมเห็นเคล็ดลับข้อที่สอง

เคล็ดลับ ข้อ 2

” มีความห่วงใยซึ่งกันและกัน ”

ศาสนาจารย์สเตรเตอร์ เดินเข้ามาในห้องประชุมหลังจากการประชุมเสร็จแล้ว ท่านได้คุยกับพี่น้องบางคนอย่างกับพ่อคุยกับลูก หลังจากนั้นทุกคนก็ไปทำงานตามหน้าที่ของแต่ละคน
ศาสนาจารย์สเตรเตอร์มาแสดงความยินดีกับผมและช่างภาพ และเรียกลูกชายของท่านให้นำผมไปสัมภาษณ์เจ้าหน้าที่ในแผนกต่างๆของคริสตจักร คุณสตีฟทำงานกับคริสตจักรนี้มา 9 ปีแล้ว ขณะที่คุณพ่อของเขาเป็นศิษยาภิบาล 21 ปีที่คริสตจักรนี้ งานในความรับผิดชอบของคุณสตีฟก็คือ ทำงานด้านครอบครัวที่พึ่งแต่งงาน ,ทีวี ละครและ ระบบแสงไฟ

ขณะที่คุณสตีฟกำลังจัดเวลาสำหรับการสัมภาษณ์ ผมก็ถือโอกาสคุยกับที.อี ฉาร์ซอร์น ศิษยาภิบาลของแผนกเยี่ยมเยียนคนป่วยและครอบครัวไว้ทุกข์ อาจารย์ฮาร์ทซอร์นปลดเกษียณแล้วแต่ยังไม่พร้อมที่จะพักงาน ถึงแม้ว่าท่านมีอายุ 62 ปีก็ตาม อาจารย์พูดว่า “ผมเคยทำงานหลายที่หลายแห่งแต่ไม่เคยพบผู้รับใช้พระเจ้าอย่างอาจารย์สเตรเตอร์ คือ ทำงานที่นี่มีความสุขมาก ไม่มีการชิงดีชิงเด่น ไม่มีการอิจฉาริษยา” อาจารย์พูดต่อไปว่า มนุษยสัมพันธ์ของอาจารย์สเตรเตอร์กับทีมงานในคริสตจักรเป็น “ คีย์หรือกุญแจอันสำคัญ ” ผมเลยได้เคล็ดลับข้อที่สาม

เคล็ดลับ ข้อ 3

ไม่อิจฉากันและกัน

เมื่อผมได้มีโอกาสดูการทำงานของ อาจารย์ฮาร์ทซอร์นปรากฎว่า ท่านได้ทำงานกับคริสตจักร 11 ปีมาแล้ว ตลอดปี 1986 ท่านได้ไปเยี่ยมคนป่วยที่โรงพยาบาลถึง 6,000 คน และได้ช่วยคนไว้ทุกข์ 1,740 ครอบครัว มูลค่าที่ช่วยเหลือประมาณ 937,300 บาท
ต่อมาคุฯสตีฟพาผมไปหาชายหญิงคู่หนึ่งที่ทำงานกับคริสตจักรเด็ก ซึ่งมีที่นั่งถึง 850 ที่นั่ง คริสตจักรเด็กที่สวยงามนี้อยู่ห่างจากอาคารนมัสการของผู้ใหญ่ที่จุคนได้ประมาณ 10,000 คน ประมาณ 200 เมตร ผมพบคุณเซลบี้และคุณคอนนี่ – สามี ภรรยาคู่นี้ทำงานกับคริสตจักรถึง 14 ปี ผมเลยถามว่าทำไมเขาจึงทำงานอยู่ที่นี่ได้ยาวนาน คุณเซลบี้ตอบว่า “เพราะศิษยาภิบาลนั่นเอง อาจารย์สเตรเตอร์ไม่เพียงแต่ทำงานเป็นตัวอย่างเท่านั้น เมื่อมอบงานให้เราสองคนแล้วก็ไม่ก้าวก่าย เรามีอิสระที่จะทำงานอย่างกว้างขวาง ถึงแม้ว่าจะมีขอบเขตก็ตาม อาจารย์ให้คำปรึกษาและแนะแนวบางอย่างแต่เป็นความรับผิดชอบของเราที่จะทำงาน” เมื่อผมได้ยินเขาพูดอย่างนี้ก็ได้เคล็ดลับข้อที่สี่

มีอิสระในการทำงาน

ผมถามเขาต่อไปว่า ขอบข่ายงานกว้างมากน้อยแค่ไหน เขาตอบว่า “ ผมกับภรรยามีอาสาสมัครช่วยทำงานอีก 75 คนมาช่วยงานเด็กของเรา คือเราจัดประชุมเด็กวันอาทิตย์ตอนเช้าและเย็น วันพุธมีประชุมสำหรับเด็กชาย 170 คนและเด็กหญิง 158 คน ซึ่งเป็นงานคล้ายๆกับงานลูกเสือชาวบ้าน เด็กมานมัสการวันอาทิตย์เฉลี่ยแล้วมีถึง 647 คนตลอดปี 1986”

ผมถามถึงเรื่องของการเงินว่าพอไหม?
คุณเซลบี้ตอบว่า คณะธรรมกิจประชุมทุกปีเพื่อพิจารณาเงินเดือนของทุกคน เราได้ค่าครองชีพเพิ่มขึ้นพร้อมกับขึ้นเงินเดือนนิดๆหน่อยๆ คืออาจารย์สเตรเตอร์ต้องการให้ทุกคนมีพออยู่ได้” ผมได้เคล็ดลับข้อที่ห้าแล้ว

เคล็ดลับ ข้อ5

มีการพิจารณาเงินเดือนทุกปี

พอดีเวลาที่ผมจะเข้าไปนั่งในที่ประชุมของคณะธรรมกิจที่กำลังจัดงานวันคริสตสมภพ นี่ก็เพิ่งจะเดือนสิงหาคม แต่เขาถือว่าจะต้องมีเวลาจัดงานใหญ่ โดยเฉพาะถ้าเขาตั้งใจจะเชิญ 15,000 คนมาชมละครเรื่องหนึ่ง ซึ่งจะมีคนแสดง 42 คน ตัวประกอบ 70 คน นักดนตรี 40 คน ช่างไฟ แสงสีบนเวทีและอื่นๆถึง 20 คน อาจารย์สเตรเตอร์เป็นประธานของการประชุม เขาได้ปรึกษาหารือถึงงบประมาณและหน้าที่การงานต่างๆ ผมนั่งอยู่และสังเกตว่ามีช่างไฟ ช่างเย็บเสื้อ ภารโรง ครู อาจารย์และคนอื่นๆ ต่างคนต่างกล้าแสดงความคิดเห็นที่จะขัดแย้งกับอาจารย์ และต่างคนต่างยอมรับซึ่งกันและกัน เท่าเทียม ไม่มีใครสำคัญกว่า ผมจึงได้เคล็ดลับข้อที่หก

เคล็ดลับ ข้อ 6
ต้องมองเห็นความสำคัญของกันและกัน

ต่อไปผมได้พบคุณบิล ฮอลแลนด์ หัวหน้ารับผิดชอบสถานที่และบริเวณ ผมถามเขาว่าเขามีหลักการที่จะจ้างคนเข้ามาทำงานอย่างไรและที่ไหน เขาตอบว่า “จากสมาชิกนั่นเอง” เขาใช้โฆษณาในสารของคริสตจักรแล้วสมาชิกโบสถ์มาสมัครงาน ผมเลยถามว่าเขาเข้าประชุมในกลุ่มคนงานหรือไม่ เขาตอบว่า “ผมเข้าประชุมสัปดาห์ละ 3-4 ครั้ง เพราะเราต้องทำงานเป็นทีม

เคล็ดลับ ข้อ 7
การทำงานร่วมกันเป็นทีม

ผมพบคุณแดนนิส คอเดอแฮม เขารับผิดชอบหนังสือคริสตจักร แผนกเสียงและเทปคาสเซท ผมถามว่าเขามาทำงานที่นี่อย่างไร เขาเล่าให้ฟังว่าเขาเป็นสมาชิก 14 ปีมาแล้ว เมื่อเขาเรียนที่มหาวิทยาลัยพระคริสตธรรม หลังจากจบแล้วมีความรู้สึกอยากจะเรียนต่อด้านช่งเทคนิค จึงมาสมัครงานด้านนี้ที่คริสตจักรประมาณ 8 เเดือน เมื่อคริสตจักรขอให้ทำงานเต็มเวลา เขาก็สมัครทำงานเต็มเวลาในแผนกเสียงและเทป นอกจากนี้คุณเดนนิสยังมีภาระและนิมิตการเปิดร้านขายหนังสือ อาจารย์สเตรเตอร์เปิดทางให้คุณเดนนิสควบคุมการเปิดร้านเล็กๆ ต่อมาคุณเดนนิสได้เห็นพระเจ้าอวยพระพรร้านหนังสือ โดยขายหนังสือได้ 8,682,450 บาทต่อปี มีคนทำงานเต็มเวลา 5 คน นอกจากนั้นคุณเดนนิสยังดูแลอีก 8 คนในแผนกเสียงและเทป

เคล็ดลับ ข้อ 8
มีเวลาพัก
เมื่อคุยต่อกับคุณเดนนิส เขาบอกว่า “ คริสตจักรนี้มีคนทำงานหลายระดับ เงินเดือนก็แตกต่างกัน บางคนทำงานมาหลายปี ทั้งที่เงินเดือนไม่มากเท่าไร ” ซึ่งผมแปลกใจมากและเข้าใจว่าเขาทำงานที่นี่ไม่ใช่เพราะหวังจะได้เงินเดือนสูง แต่เพราะรักคริสตจักร
แล้ววันพักล่ะ” คุณเดนนิสตอบว่า “ วันหยุดพักระหว่างปีดีมาก หลังจากคุณทำงานได้ 1 ปีคุณก็มีสิทธิ์หยุดพักร้อน 2 สัปดาห์พร้อมกับเงินเดือน ทำงาน 5 ปีคุณลาพักร้อนได้ 3 สัปดาห์พร้อมกับเงินเดือน หลังจากคุณทำงาน 15 ปีคุณก็ได้ลาพักร้อน 4 สัปดาห์ (1 เดือน) พร้อมกับเงินเดือน ”

เคล็คลับที่9
เปิดทางให้นิมิตรสำเร็จ

คนที่ผมได้สัมภาษณ์ต่อมาคือคุณเดวิด โธมาส หัวหน้าคณะนักร้องคริสตจักรประมาณ 10 ปี เขาบอกว่า “เมื่อผมทำงานกับคริสตจักรมีนักร้องอยู่ 80 คน ทุกวันนี้มีนักร้อง 240 คน” ผมถามว่าเขาชอบงานที่นี่ไหม? เขาตอบว่า “ชอบมาก เพราะสามารถแสดงความรู้สึกทางเพลงได้ ผมมีความรู้สึกร่วมกับคริสตจักร ซึ่งต้องการยกย่องพระเจ้า พระบิดา ตอบสนองความต้องการของสมาชิกและคนนอกด้วย ผมมีอิสระที่จะแสดงความรู้สึกนี้โดยผ่านสมาชิกที่มีความสามารถในด้านนี้ อาจารย์สเตรเตอร์ไม่บังคับให้ผมต้องร้องเพลงอย่างนั้นอย่างนี้ตามใจอาจารย์ แต่ให้อิสระและความรับผิดชอบแก่ผม”

เคล็ดลับ ข้อ 10
มีอิสระในการแสดงออก

เมื่อถึงเวลาบ่ายมีการประชุมของบรรดาศิษยาภิบาล 4-5 คน อาจารย์สเตรเตอร์เป็นประธานในที่ประชุม เขาได้คุยกันหลายเรื่อง เช่น ปัญหานักเรียนระหว่างโรงเรียนรัฐบาลกับนักเรียนโรงเรียนคริสเตียนที่กำลังจะแยกออกจากกัน อาจารย์สเตรเตอร์ไม่อยากให้เกิดความรู้สึกเช่นนี้กับสมาชิกคริสตจักร

เรื่องต่อไปมีการขอใใช้ห้องประชุมคริสตจักรจากกลุ่มนักดนตรีในเมืองนั้นเพื่อจัดคอนเสิร์ท ทางคริสตจักรจะอนุญาตให้ใช้หรือไม่

เรื่องต่อไปที่กลุ่มศิษยาภิบาลได้ปรึกษากันคือ ตั้งแต่คริสตจักรได้ย้ายมายังสถานที่แห่งใหม่นี้ สมาชิกบางคน(ประมาณ20%)ได้ไปนมัสการที่อื่น สาเหตุมาจากความไกลของโบสถ์ใหม่

เรื่องสุดท้ายที่กลุ่มศิษยาภิบาลได้ปรึกษาหารือกันคือ การใช้จอใหญ่ให้พี่น้องที่นั่งข้างหลังจะได้เห็นนักเทศน์และผู้นำประชุมอย่างชัดเจน

เคล็ดลับที่ 11
มีการติดต่อระหว่างคนทำงานด้วยกันอย่างสม่ำเสมอ

คนสุดท้ายที่ผมจะสัมภาษณ์คือ ศาสนาจารย์จิม แคมเบลล์ ซึ่งเป็นหัวหน้าบริหารงานในคริสตจักร(ผู้จัดการ) เขาเป็นผู้นำประชุมนมัสการในวันอาทิตย์ และทำงานที่คริสตจักรนี้ 19 ปี ตอนที่เขาเพิ่งเข้ามาทำงาน เขาเป็นผู้ช่วยศิษยาภิบาลคนเดียว ยังไม่มีคนอื่นในเวลานั้น
ผมเลยถามศาสนาจารย์จิม แคมเบลล์ว่า “ผู้ที่ทำงานที่นี่จะต้องมีคุณสมบัติอะไรบ้าง?”
อาจารย์จิมตอบว่า “ผู้ร่วมทำงานกับศิษยาภิบาลควรมีทิศทางเดียวกันกับศิษยาภิบาล ถ้าไม่มีก็ไม่ควรจะอยู่ที่นี่”

เคล็ดลับ ข้อ12
คนทำงานควรมีนิมิตร่วมกับศิษยาภิบาล

อาจารย์จิมพูดต่อไปว่า” อาจารย์สเตรเตอร์ให้ผมเทศนาครั้งเดียว ตั้งแต่เราย้ายมาอยู่ทีนี่ ผมไม่มีปัญหาในเรื่องนี้ แต่สำหรับรองศิษยาภิบาลโบสถ์อื่นๆอาจเป็นปัญหา เพราะเขาอยากเทศนา เขาจึงอยู่ได้ไม่นาน นี่อาจเป็นสาเหตุที่ผมอยู่นานได้เพราะผมไม่สนใจเทศนาเท่าไร”

มีอีกเรื่องหนึ่งที่ทำให้เกิดเป็นเคล็ดลับข้อสุดท้าย คือผมสังเกตว่าทั้งอาจารย์สเตรเตอร์และแคมเบลล์คนทำงานควรมีนิมิตร่วมกับศิษยาภิบาล

อาจารย์จิมพูดต่อไปว่า” อาจารย์สเตรเตอร์ให้ผมเทศนาครั้งเดียว ตั้งแต่เราย้ายมาอยู่ทีนี่ ผมไม่มีปัญหาในเรื่องนี้ แต่สำหรับรองศิษยาภิบาลโบสถ์อื่นๆอาจเป็นปัญหา เพราะเขาอยากเทศนา เขาจึงอยู่ได้ไม่นาน นี่อาจเป็นสาเหตุที่ผมอยู่นานได้เพราะผมไม่สนใจเทศนาเท่าไร”

มีอีกเรื่องหนึ่งที่ทำให้เกิดเป็นเคล็ดลับข้อสุดท้าย คือผมสังเกตว่าทั้งอาจารย์สเตรเตอร์และแคมเบลล์แสงดความขอบคุณคนทำงานบ่อยครั้ง ไม่เฉพาะส่วนตัว แต่ขอบคุณคนทำงานต่อหน้าคนอื่นๆด้วย

เคล็ดลับ ข้อ 13
แสดงความขอบคุณ
ไม่เฉพาะส่วนตัว แต่ขอบคุณคนทำงานต่อหน้าคนอื่นๆด้วย

บทความโดยอาจารย์คอล์ดเวล บรรณาธิการร่วมของ Ministries Today วันที่ 24/08/2004