ความโกรธเป็นความผิดหรือเปล่า

ความโกรธเป็นความผิดหรือเปล่า ส่วนใหญ่คนบอกว่าผิด แต่ความจริงแล้ว ความโกรธไม่ผิด แต่มันอยู่ที่เราทำอะไรไปด้วยความโกรธต่างหากที่บ่อยครั้งจะเป็นความผิด
เมื่อเราโกรธ และใช้ความโกรธในทางที่ผิด เราจะรู้สึกโกรธตนเอง และนั่นยิ่งเพิ่มพูนความรู้สึกผิดให้ตัวเองมากยิ่งขึ้น
การโกรธมาก และมีความรู้สึกผิดกับตัวเองมาก จะมีผลกระทบต่างร่างกาย ความคิด และจิตวิญาณด้วย ซึ่งได้แก่ ” ความรุ้สึกเศร้า หดหู่ ทำงานไม่เกิดผล ป่วย ประสบอุบัติเหตุ เสียเวลาทำงาน และเสียเงินเสียทอง ขมขื่น อย่าแก้แค้น” เป็นต้น

นักวิจัยท่านอื่นได้พูดถึงเรื่องปัญหาเกี่ยวกับหัวใจ โรคความด้านสูง ความเครียด และหัว ไมเกรน โรคกระเพาะ นอนไม่หลับ อาเจียน มีโรคแทรากซ้อน การวนกระวาย นอกจากนั้นยังมีคนอีกมากมายที่ถูกรบกวน และบาดเจ็บเพราะความโกรธ ดังนั้น เราจึงเข้าใจว่าพระเจ้าทรงหยั่งรู้ จึงทรงตรัสไว้ในสุภาษิต 19: 19 ว่า ” คนที่โมโหฉุนเฉียวจะได้รับโทษ และถ้าเจ้าช่วยกู้เขาแล้ว จะต้องช่วยกู้เขาอีก ” และในสุภาษิต 14: 20 ” ใจสงบให้ชีวิตแก่เนื้อหนัง แต่กิเลสกระทำให้กระดุกผุ ”
แท้จริง ความโกรธไม่ใช่ความผิด เราจะพบว่าพระเจ้าและองค์พระผู้เป็นเจ้าของเราก็เคยโกรธเหมือนกัน (อพย.4:14, มก.3 :15 ) พระพิโรธของพระเจ้าต่อความบาป และต่อการกบฎเป็นความจริงของชีวิต และเป็นหัวใจที่สำคัญของข่าวประเสริฐ
“เพราะว่าพระเจ้าทรงสำแดงพระพิโรธของพระองค์จากสวรรค์ ต่อความหมิ่นประมาท พระองค์ทรงลงพระอาญาแก่ผู้ที่ไม่เชื่อฟัง ” ( อฟ. 5: 6 )

มีเพียงพระโลหิตของพระเยซูคริสต์เท่านั้นที่สามารถปกป้องเราจากพระพิโรธนั้นได้ พระองค์ได้ทรงเปลี่ยนพระพิโรธอันชอบธรรมของพระเจ้าที่มีต่อการกบฎของเรา และนำผู้ที่เชื่อเข้าสู่ความสัมพันธ์อันมีชีวิตกับพระบิดา และเป็นส่วนของเราที่จะต้องมีชีวิตอยู่ให้เป้นที่พอพระทัยของพระบิดา ความโกรธของมนุษย์ส่วนใหญ่แล้วจะไม่เหมือนความโกรธของพระเจ้า
บุคคลที่โกรธช้า ก็มีความเข้าใจมาก แต่บุคคลที่โมโหเร็วก็ยกย่องความโง่” (สุภาษิต 14: 19 )
พระเจ้าได้ทรงเตือนเรื่องความโกรธของมนุษย์ และตักเตือนผู้ที่ไม่สามารถควบคุมความโกรธของตนเองได้
“อย่าให้ใจของเจ้าโกรธเร็ว เพราะความโกรธมีประจำอยู่ในทรวงอกของคนเขลา” ( ปญจ.7: 9 )
“สามัญสำนึกที่ดีกระทำให้คนโกรธช้า และการที่มองข้ามการทรยศเสียก็เป็นศักดิ์ศรีแก่เขา” (สภษ. 19 :11 )
“ดูก่อนพี่น้องที่รักของข้าพเจ้า จงทราบข้อนี้ จงให้ทุกคนไวในการฟัง ช้าในการพูด ช้าในการโกรธ ” (ยก.1: 19 )
การยอมเป็นคนผิดก็ดีกว่าตกอยู่ในอารตาบอด มีความโกรธรุนแรง และทำบาป
“โกรธก็โกรธได้ แต่อย่าทำบาป อย่าให้ถึงตะวันตก ท่านยังโกรธอยู่ “(อฟ.4: 25 )

ทำไมจึงโกรธ โกรธแล้วได้อะไร ?
ความโกรธเป็นปฎิกิริยาตอบสนองตามธรรมชาติ การถูกกล่าวหา ถูกดูถูก ถูกกล่าวหา ถูกข่มเหงรังแก ถูกเข้าใจผิด ..ฯลฯ
อย่างไรก็ดี ทำไมจึงโกรธ ? โกรธแล้วได้อะไร ?
ไม่เป็นความจริงที่การควบคุมความโกรธไม่ได้เป็นสิ่งที่น่ารื่นรมย์ และไม่เห็นได้ผลดีอะไร เราก็รู้สึกหัวเสียเท่า ๆ คนอื่นๆ กำปั้นของเราหลังจากทุบประตูแล้ว ด้วยความโกรธ เราก็เจ็บเอง เราจะได้แต่ความเจ็บปวด และผลเสียที่ตามมา

เราจะทำอย่างไรกับเรื่องยาก ๆ เหล่านี้
พระคำพระเจ้ากล่าวว่า “โกรธก็โกรธเถิดแต่อย่าทำบาป” ถ้าเราโกรธ เราก็ทำบาป ถ้าอย่างนั้นก็ไม่ดีสำหรับตัวเราเองเลย พระคำพระเจ้าเชื่อมโยงกับสิ่งไม่ดีต่างๆ เพราะถ้าเราไม่สามารถคงบคุมอารมณ์ของเราได้ มันก็จะเดือดและระเบิดออกมา

“จงให้ใจขมขื่น ใจขัดเคือง และใขโกรธ และการทะเลาะเถียงกัน และการพูดเสียดสี กับการปองร้ายทุกอย่างอยู่ห่างไกลจากท่านเถิด” (อฟ.4 31 )
และยังตรัสว่า “ท่านทั้งหลายจงมีเมตตาต่อกัน มีใจเอ็นดูต่อกัน และอภัยโทษให้กัน เหมือนดังที่พระเจ้าได้ทรงโปรดอภัยให้แก่ท่านในพระคริสต์นั้น ” (อฟ. 4 32 )

เหตุผล 6 ประการที่ท่านไม่ควรโกรธ

1. ถ้าสิ่งที่เราทำไม่เป็นสิ่งที่ถวายเกียรติพระเจ้า
2. เป็นสิ่งที่ทำร้ายผู้อื่น ซึ่งอาจจะรุนแรงมาก
3. เป็นการทำร้ายตนเอง
4. มันไม่ได้ผลหรอก ถ้าเราจะใช้ความโกรธในการแก้ไขปัญหา
5. มันเป็นสิ่งที่ไม่จำเป็นแม้แต่น้อย มีทางเลือกที่ดีกว่านี้แน่นอน
6. เป็นตัวอย่างที่ไม่ดี

ความโกรธไม่ได้ทำให้การพูดคุย หรือความสัมพันธ์ดีขึ้นมาเลย แต่ความรักทำได้ ความโกรธมีแต่ทำลายเท่านั้น เพราะว่าเป็นแรงจูงใจที่ผิด เราใช้ความโกรธข่ม และบังคับคนอื่น เพราะเราไม่มั่นใจในตัวเอง

“ความรักนั้นก็อดทนนานและกระทำคุณให้ ความรักไม่อิจฉา ไม่อวดตัว ไม่หยิ่งผยอง ไม่หยาบคาย ไม่คิดเห็นแก่ตนเองฝ่ายเดียว ไม่ฉุนเฉียว ไม่ช่างจดจำความผิด ไม่ชื่นชมยินดีเมื่อประพฤติผิด แต่ชื่นชมยินดีเมื่อประพฤติชอบ ความรักทนได้ทุกอย่าง แม้กระทั่งความผิดของคนอื่น และเชื่อในส่วนที่ดีของเขาอยู่เสมอ และมีความหวังอยู่เสมอ และทนต่อทุกอย่าง ( 1 โครินโธ 13: 4 – 7 )

นี่เป็นสิ่งที่ดีกว่าการโกรธมากทีเดียว ไม่เพียงแต่ว่าเราควรจะควบคุมความโกรธเท่านั้น เรายังต้องเปลี่ยนความโกรธให้แก้ปัญหาได้ด้วย

พระเจ้าทรงปราถนาให้เรากระทำสิ่งที่ดี (ยก.1: 19 – 20 ) พระเยซูคริสต์ทรงเป็นแบบอย่างให้กับเรา (1 ปต.2:23 ) พระวิญญาณบริสุทธิ์จะช่วยเราให้มีการแสดงออกที่ดี (อฟ. 4: 30-32 ) และความรักเป็นการสำแดงจุดยืนของเราในพระคริสต์ (กท.2: 20 ,ฟป.4: 13)

เมื่อมีความโกรธ ให้นำพลังนี้ไปใช้ในการแก้ไขปัญหา
ท่านเคยสังเกตุตัวเอง หรือไม่ว่า เมื่อท่านโกรธ ความเสียหายได้เกิดขึ้น การควบคุมความโกรธเท่านั้นยังไม่เพียงพอ เพราะเราควบคุมได้เพีบงชั่วคราว แล้วภายหลัง เมื่อเรากลับบ้าน เราอาจจะเกรี้ยวกราดต่อคนอื่นๆ เราควรเรียนรู้ที่จะเปลี่ยนนิสัยใหม่เหมือนอย่างที่ได้กล่าวไปแล้ว ต่อไปนี้เป็นหลาย ๆ วิธีที่อาจจะช่วยเราได้

1. มองที่พระเจ้า แสวงหาการช่วยเหลือจากพระเจ้า ยอมรับว่าความโกรธของท่านเป็นความบาป (1 ยน. 1: 8-9 ) และขอกำลังจากพระวิญญาณบริสุทธิ์ (ฟป.4: 8- 9 ,ลก. 11: 13 )

2.หลีกเลี่ยงเพื่อนที่ชอบโกรธ อารมณ์เสียง่าย (สภษ. 22: 24 ,25 )

3.หลีกเลี่ยงเหตุการณ์ที่จะทำให้เราโกรธ (สภษ.20 :3 )

4. หลีกเลี่ยงความเร่งรีบ ความเครียด และความกดดันต่าง ๆ โดยเฉพาะอย่างยิ่งพักผ่อนให้เพียงพอ (สดด. 127:2 ,ปฐจ. 5: 120 )

5.จัดการกับความโกรธ เวลาเราโกรธเรามีพลังมหาศาล ให้คิดถึงความเสียหายที่ประเมินค่าไม่ได้ เมื่อมีความโกรธ ให้นำพลังนี้ไปใช้ในการแก้ไขปัญหา ( ยน. 2: 16- 17 )

6. แสดงความรักที่อดทนนานดีกว่าการตะโกนใส่กัน และกัน ถ้าเรามีความรักที่แท้จริง ความรักนั้นจะรักษาช่วยเหลือ และเสริมสร้างไม่ใช่ทำลาย “สามัญสำนึกที่ดีทำให้คนโกรธช้า ” (สภษ. 19: 11 )

ความโกรธถ้าเราไม่ควบคุมไว้ อารมณ์ของเราจจะควบคุมตัวเอง แต่ความรักควบคุมได้ เพราะความรักจะควบคุมอารมณ์ของเรา

“คนเจ้าโมโหย่อมเร้าการวิวาท และคนที่มักโกรธก็เป็นเหตุให้มีการทรยศมากขึ้น” (สภษ.29:22)

“จะโกรธก็โกรธได้ แต่อย่าทำบาป อย่าให้ถึงตะวันตกดินท่านยังโกรธอยู่ และอย่าให้โอกาสแก่มาร” (อฟ. 4: 26 ,27 )
ดังนั้นการควบคุมความคิดจึงเป็นเรื่องสำคัญ

อารมณ์เป็นส่วนหนึ่งของชีวิตที่พระเจ้าประทานให้ แล้วอยู่คู่กับจิตใจของเราตลอดชีวิต อารมณ์เป็นตัวกระตุ้นให้เราแสดงออกในรูปแบบต่าง ๆ แล้วแต่ว่าเราจะมีอารมณ์อย่างไร อารมณ์มีทั้งดีมีประโยชน์ เช่น อารมณ์ขัน อารมณ์ร่าเริง และอารมณ์ที่เป็นโทษ เช่นโมโหฉุนเฉียว หงดหงิด ซึมเศร้า เบื่อหน่าย อารมณ์ไม่ดีเหล่านี้ก่อให้เกิดโรคภัยไข้เจ็บแก่ร่างกาย ไม่ว่าจะเป็นความดัน ,ปวดเมื่อยกล้ามเนื้อ โรคกระเพาะ โรคประสาท (สุภาษิต 17: 22 )
เมื่อเราไม่สามารถขจัดอารมณ์ออกไปจากชีวิต เราต้องเรียนรู้ที่จะควบคุมอารมณ์ เพื่อให้มันเป็นเครื่องมือนำชีวิตเราไปในทางเสริมสร้าง และเกิดประโยขน์ พระเจ้าปราถนาที่จะให้ลูกของพระองค์มีความรู้สึกในด้านบวกเสมอ คริสเตียนที่เจริญเติบโตเข้มแข็ง และเกิดผลเป็นผู้ที่ดำเนินชีวิตกับพระวิญญาณบริสุทธิ์ ทำให้เกิดผลที่ดีจากพระวิญญาณบริสุทธิ์ ตาม กท. 5:22, 23
ฝ่ายผลของพระวิญญาณ คือ ความรัก ความปลามปลื้มใจ สันติสุข และความอดกลั้นใจ ความปรานี ความดี ความสัตย์ซื่อ ความสุขภาพอ่อนน้อม และการรู้จักบังคับตน การที่จะควบคุมอารมณ์ได้ต้องควบคุมความคิดให้ได้ อ. เปาโล กล่าวไว้ ใน ฟบ. 2: 5 ” ท่านจงมีน้ำใจ (ความคิด) ต่อกันเหมือนอย่างมีในพระคริสต์ ในโรม 12: 2 “จงรับการเปลี่ยนแปลงใจ (ความคิด) ดังนั้นการควบคุมความคิดจึงเป็นเรื่องสำคัญ และจะส่งผลต่อการควบคุมความรู้สึกด้วย

คำแนะนำ 5 ประการนี้จะช่วยให้เราพัฒนาความคิดและสามารถควบคุมอารมณ์

1. ตรวจสอบความคิดของท่าน ให้คอบตรวจสอบความคิดที่มีอยู่เสมอ ให้เป็นความคิดในด้านบวก

2. ขจัดความคิดในด้านลบออกไปให้เร็วที่สุด อย่าเก็บเอาไว้ เพราะมันจะแพร่เชื้อร้ายในความคิดด้านอื่น ๆ และทำลายความคิดดี ๆ ทำลายอารมณ์ความรู้สึกดี ๆ ไปได้ และนำอารมณ์ที่ไม่ดีให้เกิดขึ้นในจิตใจ

3.พยายามจัดระบบความคิดไปในทางบวก ด้านสร้างสรรค์ คิดว่าเป็นไปได้โดยพระเจ้า สร้างความคิดในด้านบวก ไม่ว่าอยู่ในสถานการณ์ใดในชีวิต เพราะการคิดในด้านบวกทำให้เราต้านความรู้สึกในด้านลบได้ และทำให้จิตใจของเราได้รับการหล่อเลี้ยงในด้านดีอยู่เสมอ มีความเชื่อความหวังใจเสมอ คิดถึงพระสัญญาพระเจ้ามาก ๆ (ฟป. 4: 8)

4.พยายามมองให้เห็นภาพของความเป็นไปได้โดยความยิ่งใหญ่ของพระเจ้า คาดหวังสิ่งที่ดีจากพระเจ้า มองเห็นความสำเร็จที่มาจากพระเจ้า บ่อยครั้งความจำกัด ความรู้สึกท้อใจ ความกลัวในใจ ก็คือ การขยายความคิดของเราให้กว้างขึ้น เมื่อเราคิดถึงความยิ่งใหญ่ของพระเจ้า ความเป็นไปได้โดยพระองค์ เราก็จะสามารถขจัดความกลัวได้ เช่น กลัวอดอยาก ก็ให้คิดถึงพระเจ้าผู้ทรงสามารถเลี้ยงอิสราเอลหลายบล้านคนในทะเลทรายเป็นเวลา 40 ปี โดยไม่มีใครอดตาย ความคิดเช่นนี้จะเสริมสร้างความเชื่อ และทำลายความกลัวไปได้

5.การปฎิบัติตามความเชื่อในใจ อารมณ์นอกจากจะเกี่ยวข้องกับความคิดแล้วก็ยังเกี่ยวข้องกับการกระทำด้วย การทำบางอย่างจะช่วยเปลี่ยนอารมณ์และความรู้สึกได้ เช่น การพูดคุยกับคนที่วางใจได้ ระบายความคิด ความรู้สึกออกมาก็จะช่วยให้อารมณ์ดีขึ้น การคุกเข่าอธิษฐานกับพระเจ้าเป็นส่วนตัว ระบายความในใจออกมาช่วยได้มาก การได้ร้องเพลงนมัสการสรรเสริญพระเจ้าทำให้อารมณ์ดีขึ้น การพยายามหาส่วนที่ดีในเหตุการณ์ต่างๆ การได้รับใช้ผู้อื่น ให้การช่วยเหลือผู้ที่เดือดร้อน การเยี่ยมเยียนผู้ที่มีความทุกข์ใจหนุนใจผู้อื่น ล้วนเป็นตัวอย่างการประพฤติที่ดีที่สามารถช่วยเปลี่ยนอารมณ์ความรู้สึกจากแง่ลบมาเป็นบวกได้

บทความโดย อ. ประยูร ลิมะหุตะเศรณี